วันอังคารที่ 6 ธันวาคม พ.ศ. 2554

น้ำยาเอนกประสงค์

สูตรน้ำยาล้างจาน น้ำยาเอนกประสงค์



ส่วน​ผสม 
  • N70 (หัวแชมพู)                     1     ​กิ​โลกรัม
  • F24 (สารขจัดคราบไขมัน)      1/2  ​กิ​โลกรัม
  • เกลือ​                                    1-1.5 ​กิ​โลกรัม


วิธีทำ
  1. ต้มเกลือ​โดย​ใช้​น้ำ​ 2-3 ​ลิตร​ ​จนเกลือละลายหมด​ ​ตั้ง​ไว้​จนเย็น
  2. เอา​ N 7O ​ผสม​กับ​ F 24 ​กวน​ให้​เข้า​กัน​ ​ราว​ 10 ​นาที
  3. ค่อยๆ​เทน้ำ​เกลือลงไปทีละน้อยๆ​ ​แล้ว​กวน​ให้​เข้า​กัน​ ​จนหมด
  4. หลัง​จาก​นั้น​ ​เติมน้ำ​ลงไป​และ​กวนเรื่อยๆ​ ​โดย​ใช้​น้ำ​ประมาณ​ 10-15 ​ลิตร​ ​ทั้ง​นี้​ให้​สังเกตว่า​ ​ความ​ข้นของน้ำ​ยาอเนกประสงค์​ ​หาก​ยัง​ข้น​หรือ​เหนียวมาก​ ​ก็​สามารถ​เติมน้ำ​เปล่า​ ​ลงไป​ได้​อีก​ ​จนเห็นว่า​ ​ได้​ความ​ข้นที่​เหมาะสม
  5. ใส่​หัวน้ำ​หอม​ ​กวน​ให้​เข้า​กัน​ ​แล้ว​ตั้งทิ้ง​ไว้​จนฟองยุบ​(1 ​คืน) ​แล้ว​ตัก​ใส่​ขวดเอา​ไว้​ใช้




ถ้า​สามารถ​ทำ​เอง​ได้​ประหยัดกว่าซื้อตั้งเยอะ​ ​เรื่องของเศรษฐกิจพอเพียงอย่าทำ​ให้​เป็น​เรื่องยาก​ ​ถ้า​อันไหนที่ทำ​แล้ว​สามารถ​พึ่งตัวเอง​ได้​ก็​เป็น​ส่วน​หนึ่งของเศรษฐกิจพอเพียง​แล้ว​ครับ​ ​อีกอย่างคุณก็​จะ​เป็น​ "คนมีน้ำ​ยา​"

​เรื่องยาก​ ​ถ้า​อันไหนที่ทำ​แล้ว​สามารถ​พึ่งตัวเอง​ได้​ก็​เป็น​ส่วน​หนึ่งของ

ไม้ไผ่







ไม้ไผ่


อาหาร


ของใช้จากไม้ไผ่






 ในประเทศไทยนั้น พบไผ่อยู่ 30 ชนิด ดังนี้


ประโยชน์ของไม้ไผ่
1.  ด้านการอนุรักษ์ธรรมชาติ
-   ป้องกันการพังทลายของดินตามริมฝั่ง
-   ช่วยเป็นแนวป้องกันลมพายุ
-   ชะลอความเร็วของกระแสน้ำป่าเมื่อฤดูน้ำหลากกันภาวะน้ำท่วมฉับพลัน  จัดแต่งเป็นมุมพักผ่อนหย่อนใจในบ้านเรือน
<><>
อันดับPoales
วงศ์Poaceae
วงศ์ย่อยBambusoideae
 
<><>

ป่าไผ่ ในเกียวโต ประเทศญี่ปุ่นไผ่ เป็นไม้พุ่มหลายชนิดและหลายสกุลใน วงศ์หญ้า Poaceae (เดิมคือ Gramineae) วงศ์ย่อย Bambusoideae เป็นไม้ไม่ผลัดใบใน ขึ้นเป็นกอ ลำต้นเป็นปล้องๆ เช่น ไผ่จีน (Arundinaria suberecta Munro) ไผ่ป่า (Bambusa arundinacea Willd.) ไผ่สีสุก (B. flexuosa Munro และ B. blumeana Schult.) ไผ่ไร่ (Gigantochloa albociliata Munro) ไผ่ดำ (Phyllostachys nigra Munro).
ผลผลิตจากไผ่ที่สำคัญคือ หน่อไม้ ซึ่งเป็นอาหารสำคัญของคนไทย นิยมทานกันมากในเกือบทุกภาคของประเทศไทย โดยเฉพาะภาคเหนือและอีสาน นอกจากนี้ไม้ไผ่ยังมีคุณสมบัติพิเศษทั้งด้านความแข็งแรงและยืดหยุ่นที่เหนือกว่าวัสดุสังเคราะห์หลายชนิด ดังนั้นจึงยังได้รับความนิยมในการทำเครื่องมือเครื่องใช้หลายประเภท ใช้ชะลอน้ำที่เข้าป่าชายเลน นั่งร้านก่อสร้างและบันได เป็นต้น

มะละกอ

มะละกอ

มะละกอ (อังกฤษ: Papaya, เป็นไม้ผลชนิดหนึ่ง สูงประมาณ 5-10 เมตร มีถิ่นกำเนิดในอเมริกากลาง ถูกนำเข้าสู่ประเทศไทยในสมัยกรุงศรีอยุธยา ผลดิบมีสีเขียว เมื่อสุกแล้วเนื้อในจะมีสีเหลืองถึงส้ม นิยมนำมารับประทานทั้งสดและนำไปปรุงอาหาร เช่น ส้มตำ ฯลฯ หรือนำไปแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์อื่น ๆ ก็ได้
มะละกอขณะออกผล
มะละกอขณะออกผล
ลักษณะทั่วไป มะละกอเป็นไม้ล้มลุก (บางครั้งอาจเข้าใจผิดว่าเป็นไม้ยืนต้น) ใบมีลักษณะเป็นใบเดี่ยว 5-9 แฉก เกาะกลุ่มอยู่ด้านบนสุดของลำต้น ภายในก้านใบและใบมียางเหนียวสีขาวอยู่ มะละกอบางต้นอาจมีดอกเพียงเพศเดียว แต่บางต้นอาจมีดอกได้ทั้งสองเพศก็ได้ ผลเป็นรูปรี อาจหนักได้ถึง 9 กิโลกรัม ผลดิบมีสีเขียว และมีน้ำยางสีขาวสะสมอยู่ที่เปลือก ส่วนผลสุก เนื้อในจะมีสีเหลืองถึงส้ม มีเมล็ดสีดำเล็ก ๆ อยู่ภายในกินไม่ได้
ประโยชน์
นอกจากการนำมะละกอไปรับประทานสด ๆ แล้ว เรายังสามารถนำไปปรุงอาหาร เช่น ส้มตำ แกงส้ม ฯลฯ หรือนำไปหมักเนื้อให้นุ่มได้อีกด้วย เพราะในมะละกอมีเอนไซม์ชนิดหนึ่งเรียกว่า พาเพน (Papain) ซึ่งสามารถนำเอนไซม์ชนิดนี้ไปใส่ในผงหมักเนื้อสำเร็จรูป บางครั้งนำไปทำเป็นยาช่วยย่อยสำหรับผู้ที่มีปัญหาอาหารไม่ย่อยก็ได้

สรรพคุณของมะละกอ สรรพคุณของมะละกอมีมากมายนัก ใช้เป็นยาสมุนไพรรักษาโรคได้
1. แก้อาการขัดเบา ใช้รากสด (1 กำมือ) 70-90 กรัม รากแห้ง 25-35 กรัม หั่นต้มกับน้ำ กรองดื่มเฉพาะน้ำ วันละ 3 ครั้ง ครั้งละ 1 ถ้วยชา(75 มิลลิลิตร) ดื่มก่อนอาหาร
2. เป็นยาระบายอ่อนๆ การกินเนื้อมะละกอสุก ช่วยเป็นยาระบายอ่อนๆ เพราะไปช่วยเพิ่มจำนวนกากไยอาหาร ดังนั้นเนื้อผลสุกมะละกอจะช่วยระบายอ่อนๆ แก้ท้องผูก
สรรพคุณ มะละกอ :
ผลสุก - เป็นมีสรรพคุณป้องกัน หรือแก้โรคเลือดออกตามไรฟัน เป็นยาระบาย
ยางจากผลดิบ - เป็นยาช่วยย่อยโปรตีน ฆ่าพยาธิได้
รากมะละกอ - ขับปัสสาวะ แก้ขัดเบา
ใช้เป็นยาระบาย :ใช้ผลสุกไม่จำกัดจำนวน รับประทานเป็นผลไม้
เป็นยาช่วยย่อย: 1. ใช้เนื้อมะละกอดิบไม่จำกัด ประกอบอาหาร เช่น ส้มตำ แกง เป้นผักจิ้ม 2. ยางจากผลดิบ หรือจากก้านใบ ใช้ 10-15 กรัม หรือถ้าเป็นตัวยาช่วยย่อย เพราะในยางมะละกอมีสารที่เรียกว่า Papain

ไฟล์:Koeh-029.jpg

วันอังคารที่ 25 ตุลาคม พ.ศ. 2554

กล้วย  

กล้วย เป็นพรรณไม้ล้มลุกในสกุล Musa มีหลายชนิด เช่น กล้วยน้ำว้า กล้วยน้ำไท กล้วยหอมทอง กล้วยหอมเขียว กล้วยไข่ กล้วยตานี กล้วยหักมุก กล้วยเล็บมือนาง กล้วยนิ้วมือนาง กล้วยส้ม กล้วยนาค กล้วยหิน กล้วยงาช้าง ฯลฯ บางชนิดก็ออกหน่อแต่ว่าบางชนิดก็ไม่ออกหน่อ ใบแบนยาวใหญ่ ก้านใบตอนล่างเป็นกาบยาวหุ้มห่อซ้อนกันเป็นลำต้น ออกดอกที่ปลายลำต้นเป็น ปลี และมักยาวเป็นงวง มีลูกเป็นหวี ๆ รวมเรียกว่า เครือ พืชบางชนิดมีลำต้นคล้ายปาล์ม ออกใบเรียงกันเป็นแถวทำนองพัดคลี่ คล้ายใบกล้วย เช่น กล้วยพัด (Ravenala madagascariensis) ทว่าความจริงแล้วเป็นพืชในสกุลอื่น ที่มิใช่ทั้งปาล์มและกล้วย    ต้นกล้วย หรือหยวกกล้วย หรือกาบกล้วย   ใช้ประกอบอาหารได้หลายอย่าง  เช่น  แกงกะทิ แกงเลียง แกงป่า ผัดเผ็ด ห่อหมก เป็นต้น
      ก้านกล้วย เมื่อ ปลอกเปลือกนอกที่แข็งและเหนียวออกแล้ว จะได้ไส้ในที่อ่อนนุ่มเป็นรูพรุนดั่งฟองน้ำ  มีรสหวานนิด ๆ นำไปหั่นละเอียดใส่เป็นส่วนผสมของอาหารจำพวก ลาบ ลู่ ต่าง ๆ เพื่อเพิ่มปริมาณ และรสชาติ ได้เป็นอย่างดี
     ใบกล้วย หมายถึง  ใบอ่อน ส่วนที่ฝังอยู่ใจกลางลำต้นกินสด ๆ หรืออาจจะลวกให้นิ่ม จิ้มน้ำพริกกิน กับข้าวอร่อยดีนัก
     ปลีกล้วย   หลาย ท้องถิ่นนำมาจิ้มน้ำพริกกินกับข้าว ทั้งในรูปผักสด และผักต้ม  บางถิ่นนำมาหั่น ให้ฝอย เป็นผักเคียงกินกับขนมจีน หรือหมี่กะทิ ในขณะที่หลายท้องถิ่นนำไปประกอบอาหาร ประเภทยำ และประเภทต่าง ๆ
     ผลกล้วยดิบ   เรา นำกล้วยดิบไปประกอบอาหาร ทั้งอาหารคาว และหวาน อาหารคาว เช่น กล้วยลูกอ่อนต้ม เป็นผักจิ้มน้ำพริก หรือหั่นเป็นแว่นบาง ๆ ดองเป็นผักจิ้ม ทำส้มตำกล้วย ทำแกงเผ็ด เครื่องเคียงแหนมเนือง เป็นต้น      อาหารหวาน  เช่น กล้วยลูกโตพอสมควรนำมาต้มแล้วปลอกเปลือก หั่นเป็นชิ้นโรยมะพร้าวขูด และน้ำตาล หรือนำมาฝานบาง ๆ ทำเป็นกล้วยฉาบ เป็นต้น แต่ถ้าเป็นกล้วยที่ห่ามแล้วก็นำไปทำกล้วยปิ้ง กล้วยเผา กล้วยทับ ฯลฯ
      ผลกล้วยสุก   นอก จากเรากินกล้วยสุกในฐานะผลไม้อย่างดีชนิดหนึ่งแล้วเรายังนำกล้วยสุก ไปประกอบ หรือทำเป็นอาหารหวานชนิดต่าง ๆ ได้สารพัด เช่น กล้วยบวชชี กล้วยเชื่อม กล้วยแขก ข้าวเม่าทอด ข้าวต้มผัด กล้วยกวน ขนมกล้วย เป็นต้น นอกจากนี้อาจทำเป็นกล้วยคืนรูปโดยนำกล้วยสุก ไปลวกน้ำร้อน แล้วนำไปตากให้แห้ง เก็บไว้นาน ๆ เมื่อต้องการใช้ก็นำมาลวกน้ำร้อนอีกครั้งจะคืนสภาพ เหมือนกล้วยสุก ทั่วไป นำไปประกอบอาหารได้ตามวัตถุประสงค์

การทำเครื่องจักสานจากต้นกล้วย

เนื่องจากต้นกล้วยเล็บมือนางในพื้นที่มีมากและขาดการนำมาใช้ประโยชน์ป้าแดงจึงทดลองนำเอาต้นกล้วยมาทำการจักสานเป็นเครื่องใช้ต่างๆปรากฏว่าได้ผลดีจึงทดลองทำออกจำหน่าย ซึ่งเป็นที่ต้องการของลูกค้า การทำเครื่องจักสานจากต้นกล้วยทำง่ายๆ ดังนี้
การทำเครื่องจักสานจากต้นกล้วย
 เครื่องจักสานจากต้นกล้วย
วัสดุ/อุปกรณ์
• ต้นกล้วยเล็บมือนาง
• มีด
• เครื่องรีด
• ราวสำหรับตากต้นกล้วย
• แบบรูปทรงของที่จะจักสาน
วิธีการ
• ทำการคัดเลือกต้นกล้วยที่จะนำมาจักสานโดยให้เลือกต้นทีตัดผลแล้ว มีลำต้นสูง ใหญ่นำมาทำเป็นเชือกกล้วยก่อนที่จะนำมาจักสาน
• จากนั้นนำมาลอกเอาเฉพาะกาบที่มีลักษณะสีขาว มาทำการฝานเป็นเส้นตามแนวยาวให้มีความหนาประมาณ ½ นิ้ว
• จากนั้นนำไปตากให้แห้งสนิท ซึ่งจะใช้เวลาประมาณ 2-3 วันก็ใช้ได้แล้ว
• เมื่อเชือกกล้วยแห้งสนิทแล้วก็นำมารีดด้วยเครื่องรีดให้มีความนุ่มเพื่อสะดวกในการจักสาน
• จากนั้นให้ทำการลอกเชือกกล้วยให้เป็นสองเส้นและขูดนำเนื้อเยื่อข้างในออกให้หมด
• นำมารีดอีกครั้ง แล้วนำไปจักสานขึ้นรูปตามความต้องการ เช่นกระเป๋า หมวก ตะกร้าฯลฯ
ข้อดีของเครื่องจักสานจากเชือกกล้วย
• มีความคงทน สวยงาม
• เป็นการให้วัสดุที่มีอยู่ในท้องถิ่นให้เกิดประโยชน์
อันดับZingiberales
วงศ์Musaceae
การขยายพันธุ์กล้วย
กล้วยเป็นพืชที่ขยายพันธุ์ง่าย  สะดวก  และไม่มีขั้นตอนยุ่งยากซับซ้อนแต่อย่างใด
เดิมทีเดียวการขยายพันธุ์กล้วยทำได้  2  วิธี  ได้แก่
1.การขยายพันธุ์โดยเมล็ด
2.การขยายพันธุ์โดยหน่อ
1.การขยายพันธุ์โดยเมล็ด
เป็นวิธีธรรมชาติดั้งเดิมของการขยายพันธุ์กล้วยที่มีเมล็ดมากอย่างกล้วยตานีและกล้วยน้ำว้าบางพันธุ์
การขยายพันธุ์โดยเมล็ดนี้  แต่เดิมชาวสวนจะนำเมล็ดแก่จากผลกล้วยที่แก่เต็มที่มาเพาะ  แต่เนื่องจากเมล็ดกล้วยมีเปลือกที่หนามากทำให้การเพาะเมล็ดต้องใช้เวลานานตั้งแต่  1-4  เดือน  จึงจะงอกให้เห็นต้นอ่อน  ทำให้การขยายพันธุ์โดยการเพาะเมล็ดค่อยๆ  เสื่อมความนิยมลงไปจนเกือบไม่มีชาวสวนคนใดใช้วิธีขยายพันธุ์กล้วยโดยวิธีการเพาะเมล็ดอีกแล้ว  นอกจากนี้นักวิชาการที่เพาะเมล็ดเพื่อการศึกษาค้นคว้า
2.การขยายพันธุ์โดยใช้หน่อ
ใช้หน่ออ่อน  (Peepers)หน่ออ่อน  ในนี้หมายถึง  หน่อที่มีอายุน้อยและมีขนาดเล็ก  ลักษณะของหน่อ  ใบเป็นใบเกล็ด  อยู่เหนือผิวดิน  (ปัจจุบันวิทยาการเจริญก้าวหน้า  พบว่า  หน่ออ่อนไม่เหมาะสำหรับการขยายพันธุ์)
ใช้หน่อใบดาบ  (Sword  Suckers)หน่อใบดาบ  หมายถึง  หน่อกล้วยที่เกิดจากตาของเหง้าหน่อใบนี้ลักษณะใบจะเรียวเล็กและยาวเหมือนมีดดาบ  (บางคนเรียกหน่อใบแคระ)  หน่อมีความสูงประมาณ  75-80  เซนติเมตร  มีเหง้าติดอยู่เหมาะสำหรับการขยายพันธุ์  เพราะจะเจริญเติบโตแข็งแรงและให้ผลผลิตดี
ใช้หน่อแก่  (Median Suckers)
หน่อแก่  หมายถึง  หน่อที่เจริญเติบโตมาจากหน่อใบดาบใบจะแผ่กว้าง
วิธีดูว่าหน่อกล้วยใดเป็นหน่อแกให้นับอายุ  ในกรณีนี้หน่อแก่  หมายถึง  หน่อที่มีอายุประมาณ  5-8  เดือน
ใช้หน่อใบกว้าง  (Water Suckers)
หน่อใบกว้าง  หมายถึง  หน่อที่เกิดจากตาของเหง้าแก่หรือจากเหง้าที่ไม่สมบูรณ์  ใบจะแผ่กว้างขณะที่หน่อยังมีอายุน้อย  ซึ่งหน่อใบกว้างจะเกิดก็ต่อเมื่อต้นแม่ออกเครือและตัดเครือแล้ว  หน่อชนิดนี้จริงๆแล้วไม่เหมาะที่จะนำไปขยายพันธุ์  เพราะจะให้ผลขนาดเล็กลง
ส่วนที่ใช้
ยางกล้วยจากใบ ผลดิบ ผลสุก(ทุกประเภท) ผลดิบ หัวปลี
สรรพคุณ
ยางกล้วยจากใบ ใช้ห้ามเลือด โดยใช้ยางกล้วยจากใบหยอดลงที่บาดแผล ผลดิบ แก้โรคท้องเสีย ยาฝาดสมาน แผลในกระเพาะอาหารและอาหารไม่ย่อย โดยใช้กล้วยดิบทั้งลูก บดกับน้ำให้ละเอียดและใส่น้ำตาล รับประทาน(หรือไม่อาจใช้กล้วยดิบตากแห้งบดเป็นผงเก็บไว้ใช้ในยามที่จำเป็น อาจใช้ผสมกับน้ำผึ้งหรือน้ำอุ่นกิน) ผลสุก ใช้เป็นอาหาร เป็นยาระบายสำหรับผู้ที่เป็นโรคริดสีดวงทวารหรือผู้ที่อุจจาระแข็ง วิธีใช้โดยใช้กล้วยสุก 2 ผล ปิ้งกินทั้งเปลือก หัวปลี แก้โรคเกี่ยวกับลำไส้ แก้โรคโลหิตจาง และลดน้ำตาลในเลือด


กล้วยปิ้ง


                    เรื่องกล้วยๆที่ไม่กล้วยเหมือนชื่อ วันนี้ไปเจอธุรกิจตัวหนึ่งน่าสนใจนั่นคือ กล้วยปิ้ง ฃอย่าเพิ่งดูถูกกล้วยปิ้งนะครับ กล้วยปิ้งอาหารธรรมดาที่ใครก็ต้องเคยกินรสชาติอร่อยเหมาะสำหรับเป็นของกิน เล่นยามว่างหรือจะกินจริงก็อร่อยไม่แพ้กัน วันนี้ผ่านไปเจอกล้วยปิ้ง ก็เลยนำข้อมูลมาให้คุณๆทั้งหลายได้ลองศึกษากันดู อาจจะสนใจทำเป็นอาชีพเสริมได้หลังเลิกงาน ง่ายสบายๆไม่ยุ่งยากมาดูวิธีทำกันเลย


ส่วนประกอบ

กล้วยน้ำว้าแก่กึ่งสุกกึ่งดิบ


ส่วนประกอบน้ำจิ้ม

1. กะทิ

2. น้ำตาลปิ๊บ

3. น้ำตาลทราย

4. โอวัลติน นิดหน่อย

5. เกลือ

6. นมสด


วิธีทำ

1. นำส่วนผสมน้ำจิ้ม ไปตั้งไฟเคี่ยวให้เหนียว โดยใส่ส่วนผสมทั้งหมดลงไป เคี่ยวจนเหนียวพักไว้ให้เย็น

2. หั่นกล้วยตามขวางเป็นชิ้นพอคำ เสียบไม้

3. นำมาย่างไฟให้เหลืองอ่อนๆ แล้วนำไปทุบด้วยไม้นวดแป้งให้แบน

4. แล้วนำไปราดน้ำจิ้มที่เตรียมไว้

สูตรที่ 2.

ส่วนผสมกล้วยน้ำว้าแก่ๆ ไม่ดิบไม่สุก

ส่วนประกอบน้ำจิ้ม

1. น้ำตาลมะพร้าว 2 ฝา

2. กะทิ 1 ถ้วย

3. เนยเค็ม 4 ช้อนโต๊ะ

4. เกลือนิดหน่อย


วิธีทำ

1. นำกะทิ กับน้ำตาลมาต้มให้เดือดพอน้ำตาลละลายก็เติมเนยเกลือ เคี่ยวให้ข้นเหนียวพักไว้ให้เย็น

2. หั่นกล้วยเป็นแว่นๆ ขนาดพอดีคำ และก็เสียบไม้เตรียมไว้

3. นำมาย่างไฟให้เหลืองอ่อนๆ แล้วนำไปทุบด้วยไม้นวดแป้งให้แบน

4. พอกล้วยสุก ก็นำไม้ที่นวดแป้งมาทับให้แบนแบน ราดน้ำเชื่อมเป็นอันใช้ได้

วันอังคารที่ 23 สิงหาคม พ.ศ. 2554

ปุ๋ยพืชสด

ปุ๋ยพืชสด

การเพิ่มอินทรียวัตถุให้แก่ดิน ทำได้โดยการใช้ปุ๋ยอินทรีย์ ซึ่งมีหลายชนิดด้วยกันเช่น การใช้ปุ๋ยคอก ปุ๋ยหมัก เป็นต้น แต่มีข้อจำกัด คือ ต้องใช้ในปริมาณมากต่อไร่ ไม่สะดวกแก่การขนย้ายปุ๋ย และหาได้ไม่เพียงพอ ดังนั้นวิธีการเพิ่ม อินทรียวัตถุ ให้แก่ดินอีกวิธีหนึ่ง ที่มีวิธีการปฏิบัติง่ายก็คือ การใช้ปุ๋ย พืชสด
ปุ๋ยพืชสด คือ ปุ๋ยอินทรีย์ชนิดหนึ่ง ที่ได้จากการไถกลบ ต้น ใบ และส่วนต่างๆของพืช โดยเฉพาะพืชตระกูลถั่ว ในระยะช่วงออกดอก ซึ่งเป็นช่วงที่มีธาตุอาหารสูงสุด แล้วปล่อยทิ้งไว้ให้เน่าเปื่อยผุพัง ย่อยสลายเป็นอาหารแก่พืชที่จะปลูกตามมา พืชที่ใช้ปลูกเป็นปุ๋ยพืชสด ได้แก่ โสนอินเดีย ปอเทือง อัญชัน ไมยราพไร้หนาม พืชตระกูลถั่วต่างๆ เป็นต้น
พืชที่ปลูกเป็นปุ๋ยพืชสด สิ่งที่เกษตรกรคุ้นเคยมากในการเพิ่มผลผลิตพืชก็คือ การใช้ปุ๋ยเคมี แต่ การใช้ปุ๋ยเคมีเพียง อย่างเดียว โดยไม่มีการเพิ่มอินทรียวัตถุ ให้แก่ดิน จะทำให้ดินสูญเสียความอุดมสมบูรณ์ไปอย่างรวดเร็ว ดินจะแข็งไม่ร่วนซุย ดูดซับน้ำ และแร่ธาตุอาหารพืช ได้น้อยลงทำให้การปลูกพืชไม่ได้ผลหรือได้ผลไม่ดีเท่าที่ควร

ประโยชน์ของปุ๋ยพืชสด

  1. เพิ่มปริมาณอินทรียวัตถุในดิน
  2. เพิ่มธาตุไนโตรเจนซึ่งเป็นธาตุอาหารหลักให้แก่พืช
  3. กรดที่เกิดจากการผุพังของพืชสด ช่วยละลายธาตุอาหารในดินให้แก่พืชได้มากยิ่งขึ้น
  4. บำรุงและรักษาความอุดมสมบูรณ์ของดิน
  5. รักษาความชุ่มชื้นในดินและให้ดินอุ้มน้ำได้ดีขึ้น
  6. ทำให้ดินร่วนซุย สะดวกในการเตรียมดินและไถพรวน
  7. ช่วยในการปราบวัชพืชบางชนิดได้เป็นอย่างดี
  8. ลดปริมาณการใช้ปุ๋ยเคมีลงได้บางส่วน
  9. ลดอัตราการสูญเสียดินอันเกิดจากการชะล้าง
  10. เพิ่มผลผลิตของพืชให้สูงขึ้น

ลักษณะทั่วไปของพืชปุ๋ยสด

  1. ปลูกง่าย เจริญเติบโตเร็ว ระบบรากแข็งแรง ออกดอกในระยะเวลาอันสั้น คือประมาณ 30 – 60 วัน
  2. สามารถให้น้ำหนักพืชสดสูง ตั้งแต่ 2,000 กิโลกรัมต่อไร่ ขึ้นไป
  3. ทนแล้งและทนต่อสภาพแวดล้อมต่างๆได้ดี สามารถปลูกได้ทุกฤดูกาล
  4. มีความต้านทานต่อโรคและแมลง
  5. สามารถผลิตเมล็ดพันธุ์ได้มาก และขยายพันธุ์ได้รวดเร็ว เพื่อให้ทันและเพียงพอต่อความต้องการ เมล็ดงอกง่ายและมีเปอร์เซนต์ความงอกสูง
  6. ทำการเก็บเกี่ยว ตัดสับและไถกลบได้ง่าย ไม่ควรเป็นเถาเลื้อยมากเพราะจะทำให้ไม่สะดวกแก่การไถกลบ
  7. ลำต้นอ่อน เมื่อไถกลบแล้วเน่าเปื่อยผุพังได้เร็วและมีธาตุอาหารพืชสูง

การปลูกพืชปุ๋ยสด

  1. ลักษณะของดิน ก่อนปลูกควรปรับปรุงสภาพของดินให้เหมาะสม เช่นถ้าเป็นดินเปรี้ยวควรใส่ปูนลงไปก่อน จะช่วยให้พืชสดเจริญเติบโตและให้น้ำหนักพืชสดสูงด้วย
  2. เวลาและฤดูกาลที่ปลูก เวลาที่เหมาะสมที่สุดคือ ปลูกช่วงต้นฤดูฝน หรือปลูกหลังจากเก็บเกี่ยวพืช ซึ่งความชื้นในดินยังคงมีอยู่ หรือปลูกก่อนการปลูกพืชหลัก ประมาณ 3 เดือน
  3. เมล็ดพันธุ์พืชปุ๋ยสด ที่ใช้ปลูกเพื่อไถกลบในพื้นที่ 1 ไร่ ควรใช้อัตราเมล็ดดังนี้ ปอเทือง 5 กก., โสนอินเดีย 5 กก., โสนคางคก 5 กก., โสนไต้หวัน 5 กก., ถั่วพร้า 5 กก., ถั่วเขียว 5 กก., ถั่วเหลือง 8 กก., ถั่วพุ่ม 8 กก., ถั่วนา 8 กก., ถั่วลาย 2 กก., ถั่วเสี้ยนป่า 2 กก., ไมยราพไร้หนาม 2 กก., ถั่วเว็ลเว็ท 10 กก., คาโลโปโกเนียม 2 กก., อัญชัน 3 กก.,


วิธีการใช้พืชปุ๋ยสด

วิธีการใช้พืชปุ๋ยสด สามารถแบ่งการใช้ได้ 3 วิธี คือ
  1. ปลูกพืชสด ในพื้นที่แปลงใหญ่ แล้วทำการตัดสับและไถกลบลงไปในพื้นที่นั้นเลย
  2. ปลูกพืชสดแซมในระหว่างร่องพืชหลักที่ทำการปลูก โดยปลูกพืชสดหลังจากพืชหลักเจริญเติบโตเต็มที่แล้ว
  3. ปลูกพืชสดในพื้นที่รกร้างว่างเปล่า แล้วตัดสับเอาส่วนของพืชสดนำมาใส่ในแปลงที่จะปลูกพืชหลักแล้วไถกลบลงไปในดิน

การตัดสับและไถกลบพืชสด

การตัดสับและการไถกลบพืชสดนั้น จำเป็นต้องพิจารณาถึงอายุของพืชสดเป็นสำคัญ ระยะเวลาที่เหมาะสม ในการตัดสับ และไถกลบ ควรทำขณะที่ต้นถั่ว เริ่มออกดอกไปจนถึงระยะดอกบานเต็มที่ เนื่องจากในระยะนี้ต้นถั่วเจริญงอกงามสูงสุด เมื่อไถกลบแล้วจะทำให้ปริมาณอินทรียวัตถุและธาตุไนโตรเจนสะสมอยู่ในดินสูง ด้วย

วันอังคารที่ 16 สิงหาคม พ.ศ. 2554

ข้าว

ข้าว


 

ข้าว เป็นพืชล้มลุกตระกูลหญ้าที่สามารถกินเมล็ดได้ ถือเป็นพืชใบเลี้ยงเดี่ยวเช่นเดียวกับหญ้า ต้นข้าวมีลักษณะภายนอกบางอย่าง เช่น ใบ กาบใบ ลำต้น และรากคล้ายต้นหญ้า ในประเทศไทย ข้าวหอมมะลิมีสายพันธุ์ในประเทศและเป็นที่นิยมไป ทั่วโลก


ประเภท ของข้าว

แบ่งออกได้เป็น 2 ประเภท คือ ข้าวเจ้า และ ข้าวเหนียว ซึ่งมีลักษณะเหมือนกันเกือบทุกอย่างแต่ต่างกันตรงที่เนื้อแข็งในเมล็ด
  • เมล็ดข้าวเจ้าประกอบด้วยแป้งอมิโลส (Amylose) ประมาณร้อยละ 15-30
  • เมล็ดข้าวเหนียวประกอบด้วยแป้งอมิโลเพคติน (Amylopectin) เป็นส่วนใหญ่และมีแป้งอมิโลส (Amylose) ประมาณร้อยละ 5-7
หากแบ่งตามนิเวศน์การปลูก จะแบ่งได้ 7 ประเภท คือ
  1. ข้าวนาสวน ข้าวที่ปลูกในนาที่มีน้ำขังหรือกักเก็บน้ำได้ระดับน้ำลึกไม่เกิน 50 เซนติเมตร ข้าวนาสวนมีปลูกทุกภาคของประเทศไทย แบ่งออกเป็น ข้าวนาสวนนาน้ำฝน และข้าวนาสวนนาชลประทาน
  2. ข้าวนาสวนนาน้ำฝน ข้าวที่ปลูกในฤดูนาปี และอาศัยน้ำฝนตามธรรมชาติ ไม่สามารถควบคุมระดับน้ำได้ ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับ การกระจายตัวของฝน ประเทศไทยมีพื้นที่ปลูกข้าวนาน้ำฝนประมาณ 70% ของพื้นที่ปลูกข้าวทั้งหมด
  3. ข้าวนาสวนนาชลประทาน ข้าวที่ปลูกได้ตลอดทั้งปีในนาที่สามารถควบคุมระดับน้ำได้ โดยอาศัยน้ำจากการชลประทาน ประเทศไทยมีพื้นที่ปลูกข้าวนาชลประทาน 24% ของพื้นที่ปลูกข้าวทั้งหมด และพื้นที่ส่วนใหญ่จะอยู่ในภาคกลาง
  4. ข้าวขึ้นน้ำ ข้าวที่ปลูกในนาที่มีน้ำท่วมขังในระหว่างการเจริญเติบโตของข้าว มีระดับน้ำลึกตั้งแต่ 1-5 เมตร เป็นเวลาไม่น้อยกว่า 1 เดือน ลักษณะพิเศษของข้าวขึ้นน้ำคือ มีความสามารถในการยืดปล้อง (internode elongation ability) การแตกแขนงและรากที่ข้อเหนือผิวดิน (upper nodal tillering and rooting ability) และการชูรวง (kneeing ability)
  5. ข้าวน้ำลึก ข้าวที่ปลูกในพื้นที่น้ำลึก ระดับน้ำในนามากกว่า 50 เซนติเมตร แต่ไม่เกิน 100 เซนติเมตร
  6. ข้าวไร่ ข้าวที่ปลูกในที่ดอนหรือในสภาพไร่ บริเวณไหล่เขาหรือพื้นที่ซึ่งไม่มีน้ำขัง ไม่มีการทำคันนาเพื่อกักเก็บน้ำ
  7. ข้าวนาที่สูง ข้าวที่ปลูกในนาที่มีน้ำขังบนที่สูงตั้งแต่ 700 เมตรเหนือระดับน้ำทะเลขึ้นไป พันธุ์ข้าวนาที่สูงต้องมีความสามารถทนทานอากาศหนาวเย็นได้ดี










ปุ๋ยหมักชีวภาพ

การทำปุ๋ยหมัก
โครงการปรับปรุง ดินด้วยอินทรียววัตถุ ได้ดำเนินการผลิตสารเร่งสำหรับทำปุ๋ยหมัก เพื่อใช้ย่อยเศษพืชให้เป็นปุ๋ยหมักได้รวดเร็ว ยิ่งขึ้น และให้ใด้ปุ๋ยหมักที่มีคุณภาพดีและ ปลอดภัย ผลิตภัณฑ์สารเร่งที่ทางกรมพัฒนา ที่ดินผลิตนี้ คือ พด.-1 สารเร่งชนิดนี้ประกอบ ด้วย เชื้อจุลินทรีย์รวมกันหลายสายพันธุ์ อยู่ในสภาพแห้งซึ่งสะดวกแก่การนำไปใช้และ การเก็บรักษา มีคุณสมบัติ โดยสังเขปดัง ต่อไปนี้
สารเร่งพด.-1 ประกอบด้วยเชื้อจุลินทรีย์ชนิดต่าง ๆ ที่มีประโยชน์ เป็น เชื้อจุลินทรีย์ชนิดต่าง ๆ ที่มีประโยชน์เป็นเชื้อจุลินทรีย์ ประเภทรา บักเตรี และ แอคติโมมัยซีส ซึ่งสามารถย่อยสลายเศษพืชให้เป็นปุ๋ยหมัก ใช้ได้อย่าง รวดเร็ว เมื่ออยู่ในสภาพแวดล้อมที่เหมาะสม ช่วยประหยัดเวลาในการทำ ปุ๋ยหมัก และสามารถนำปุ๋ยหมักไปให้ทันกับความต้องการ และได้ปุ๋ยหมัก ที่มีคุณภาพดี ทั้งนี้เพราะเชื้อจุลินทรีย์บางชนิดที่ผสมอยู่ในผลิตภัณฑ์เป็นพวก ที่ทำการย่อยเศษพืชได้ดีในสภาพที่กองปุ๋ยมีความร้อนสูง สภาพดังกล่าว จะช่วยทำลายเมล็ดวัชพืชหรือเชื้อโรคที่ปะปนอยู่ได้ กรมพัฒนาที่ดินได้นำสาร เร่งนี้มาทดลองเพื่อย่อยเศษพืช ปรากฏว่าสามารถย่อยฟางข้าวใหม่ให้เป็น ปุ๋ยหมักใช้ได้ภายในเวลาไม่เกิน 30-45 วัน และกากอ้อยซึ่งสลายตัวยาก เป็นปุ๋ยหมักใช้ได้ไม่เกิน 60 วัน และได้ปุ๋ยหมักที่สมบูรณ์และมีคุณภาพ
ส่วน ผสมในการกองปุ๋ยหมัก

เศษพืชแห้งหรือวัสดุอื่น ๆ 1,000 กก.หรือ 1 ตัน
(ประมาณ 8-10 ลบ.ม.)
มูลสัตว์ 200 กก.
ยูเรีย 2 กก.
สาร เร่ง พด.-1 150 กรัม (1 ถุง)
วิธีการกองปุ๋ยหมัก

นำวัสดุที่จะใช้กองปุ๋ยหมักแบ่งเป็น 4 ส่วน (ในกรณีที่กอง 4 ชั้น) โดยเมื่อกองปุ๋ยหมักเสร็จ ควรมีขนาดของกองกว้าง 2-3 เมตร สูงประมาณ 1.0-1.5 เมตร โดยมีขั้นตอน ดังนี้


สารเร่ง พด.-1 150 กรัม (1 ถุง)

1. นำวัสดุที่จะใช้ทำปุ๋ยหมัก ส่วนแรกมากองเป็นชั้น ให้มีความกว้าง 2-3 เมตร สูงประมาณ 30-40 ซม. โดยย่ำให้แน่น และรดน้ำให้ชุ่ม
2. นำมูลสัตว์โรยบนชั้นของวัสดุให้ทั่ว สำหรับการกองปุ๋ยหมัก 4 ชั้นนี้ จะใช้มูลสัตว์ชั้นละประมาณ 50 กก. รดน้ำให้ชุ่ม
3. นำปุ๋ยยูเรียโรยลงบนชั้นของมูลสัตว์ สำหรับการกองปุ๋ยหมัก 4 ชั้นจะ.โรยยูเรียชั้นละประมาณ 0.5 กก. รดน้ำอีกเล็กน้อย
4. นำสารเร่ง พด.-1 จำนวน 150 กรัม (1 ถุง) มาละลายน้ำ 20 สิตร แล้วคนให้สารเร่งละลายให้ทั่วกัน ประมาณ 15 นาที แล้วแบ่งไว้ 5 ลิตร นำไปรดให้ทั่วชั้นที่ 2, 3 และ 4 ต่อไป
5. นำวัสดุกองทับลงบนชั้นแรกของกองปุ๋ยหมัก แล้วปฏิบัติแบบเดียว กับการกองปุ๋ยหมักชั้นแรก ดำเนินการจนกระทั่งครบ 4 ชั้น โดยชั้นบนสุด ควรโรยทับด้วยมูลสัตว์ หรือดินที่อุดมสมบูรณ์ให้ทั่วผิวหน้าของกองปุ๋ยหมัก
สำหรับการใช้ฟางข้าวทำปุ๋ยหมัก จะใช้เวลาประมาณ 30-45 วัน และสามารถนำปุ๋ยที่ได้ไปต่อเชื้อสำหรับกองปุ๋ยหมักกองใหม่ได้เป็นอย่างดี หรือนำไปใช้เป็นวัสดุปรับปรุงบำรุงดินตามความต้องการต่อไป
การทำปุ๋ย หมัก-โดยวิธีการต่อเชื้อ"

การทำปุ๋ยหมัก-โดยวิธีการต่อเชื้อ หมายถึง การทำปุ๋ยหมักโดยใช้ ปุ๋ยหมักที่เป็นแล้วมาเป็นต้นตอของเชื้อจุลินทรีย์ หรือสารตัวเร่งสำหรับการ กองปุ๋ยหมักครั้งใหม่ โดยไม่จำเป็นต้องใช้สารเร่งประเภทจุลินทรีย์ทุกครั้ง ที่ทำปุ๋ยหมัก
การนำเอาปุ๋ยหมักจากกองเดิมมาเป็นต้นตอของเชื้อจุลินทรีย์ เพื่อใช้ทำปุ๋ยหมักครั้งใหม่นี้ นับว่าเป็นประโยชน์ต่อเกษตรกรอย่างแท้จริง กล่าวคือ เกษตรกรลงทุนเพียงครั้งเดียวก็สามารถนำปุ๋ยหมักที่ทำใด้มาใช้เป็น ต้นเชื้อจุลินทรีย์ เพื่อทำปุ๋ยหมักครั้งต่อไปได้อย่างต่อเนื่อง ทั้งนี้เพราะจุลินทรีย์ ซึ่งมีประสิทธิภาพในการย่อยสลายในกองปุ๋ยหมักกองเดิม ยังคงมีชีวิตอยู่ แลยังมีความสามารถที่จะย่อยสลายเศษวัสดุต่าง ๆ ที่ใช้ในการทำปุ๋ยหมักใน คราวถัดไปได้อีก การทำปุ๋ยหมักโดยวิธีการต่อเชื้อ นับได้ว่าเป็นการประหยัดค่าใช้จ่าย และลดต้นทุนในการผลิตปุ๋ยหมักได้เป็น อย่างดี แต่เกษตรกรจะต้องมีการดูแลและเก็บรักษาปุ๋ยหมักที่จะนำไปต่อเชื้อนี้ ให้อยู่ในสภาพที่ดี คือ จะต้องไม่ทิ้งตากแดดตากลม และควรให้มีความชื้น อยู่ในระดับที่เหมาะสมสำหรับการเจริญของเชื้อจุลินทรีย์ในกองปุ๋ยหมักด้วย
วิธี การกองปุ๋ยหมักโดยการต่อเชื้อ

นำวัสดุที่จะใช้กองปุ๋ยหมักตามที่กล่าว ข้างต้นมาแบ่งออกเป็น 4 ส่วนเท่า ๆ กัน (ในกรณีที่กองปุ๋ยหมัก 4 ชั้น) และเมื่อกอง ปุ๋ยหมักเสร็จแล้ว ควรมีขนาดกว้าง 2-3 เมตร สูงประมาณ 1.0-1.5 เมตร โดยมีขั้นตอน ดังนี้ คือ

1. นำเศษวัสดุที่จะใช้ทำปุ๋ยหมักมากองเป็นชั้น ให้มีความกว้าง ประมาณ 2-3 เมตร สูงประมาร 30-40 ซม. โดยย่ำให้แน่น และรดน้ำให้ชุ่ม
2. นำปุ๋ยหมักที่หมักได้ 15 วัน หรือปุ๋ยหมักทีเป็นแล้วส่วนแรกโรย ที่ผิวบน ของเศษวัสดุที่กองไว้ชั้นละ 50 กิโลกรัม แล้วรดน้ำให้ชุ่ม แต่อย่าให้ถึงกับแฉะมากเกินไป
3. นำปุ๋ยเคมีโรยให้ทั่วผิวบนของเศษวัสดุ
4. สำหรับการกองปุ๋ยหมักในชั้นต่อไป ก็ปฏิบัติเช่นเดียวกับที่กอง ในชั้นแรก และทำการกองจนครบ 4 ชั้น ชั้นบนใช้ดินทับ หนา 1 นิ้ว และทำการกลับกองปุ๋ยทุก 7-10 วัน
การทำปุ๋ยหมักโดยวิธีการต่อเชื้อนี้ ถ้าใช้ฟางข้าวเป็นวัสดุ ในการทำปุ๋ยหมัก สามารถทำได้ตามวิธีการที่กล่าว รวมถึงมีการปฏิบัติ และดูแลรักษาอย่าถูกขั้นตอนจะใช้เวลา ประมาณ 30-45 วัน ก็สามารถ นำปุ๋ยหมักไปใช้ได้แล้ว ปุ๋ยหมักที่ได้จากการต่อเชื้อนี้ ถ้าจะนำไปใช้ต่อเชื้ออีก ในเมื่อต้องการจะทำ ปุ๋ยหมักในครั้งต่อไป ก็กระทำต่อไปได้แต่ไม่ ควรทำเกิน 3 ครั้ง ดังภาพ

วันอังคารที่ 9 สิงหาคม พ.ศ. 2554

น้ำส้มควันไม้

น้ำส้มควันไม้

น้ำส้มควันไม้ เป็นของเหลวสีน้ำตาลใส มีกลิ่นควันไม้ ได้มาจากการควบแน่นของควันที่เกิดจาก การผลิตถ่านไม้ ช่วงที่ไม้กำลังจะเปลี่ยนเป็นถ่านถ่ายเทความร้อนจากปล่องดักควันสู่อากาศ รอบปล่องดักควันความชื้นในควัน จะควบแน่นเป็นหยดน้ำ ส่วนประกอบส่วนใหญ่เป็นกรดอะซิติก
มีความเป็นกรดต่ำ มีสีน้ำตาลแกมแดง นำน้ำส้มควันไม้ที่ได้ทิ้งไว้ในภาชนะพลาสติกประมาณ 3 เดือน
ในที่ร่ม ไม่สั่นสะเทือนเพื่อให้น้ำส้มควันไม้ที่ได้ตกตะกอนและแยกตัวเป็น 3 ชั้น คือ น้ำมันเบา (ลอยอยู่ผิวน้ำ)
น้ำส้มไม้ และน้ำมันทาร์ (ตกตะกอนอยู่ด้านล่าง) แยกน้ำส้มควันไม้มาใช้ประโยชน์ต่อไป
วัสดุอุปกรณ์
  1. อิฐ   500  ก้อน
  2. ถังน้ำมัน  200  ลิตร  2  ถัง
  3. ไม้ไผ่ยาว  8  เมตร พร้อมเจาะรู จำนวน  2 ลำ
  4. ความกว้าง 1.75 เมตร ยาว 1.15  เมตร สูง 60 ซม.
ประโยชน์น้ำส้ม ควันไม้
                น้ำส้มควันไม้มีสารประกอบต่างๆ มากมาย เมื่อนำไปใช้ประโยชน์ทางการเกษตรจะมีคุณสมบัติ เช่น เป็นสารปรับปรุงดิน สารป้องกันกำจัดศัตรูพืช และสารเร่งการเติบโตของพืช นอกจากนี้ มีการนำน้ำส้มควันไม้
ไปใช้ประโยชน์ในอุตสาหกรรม เช่น ใช้ผลิตสารดับกลิ่นตัว ผลิตสารปรับผิวนุ่ม ใช้ผลิตยารักษาโรคผิวหนัง เป็นต้น    เนื่องจากน้ำส้มควันไม้มีความเป็นกรดสูง ดังนั้นก่อนที่จะนำไปใช้ควรจะนำมาเจือจางให้เกิดสภาวะที่เหมาะสม

วัตถุประสงค์ของการทำน้ำส้มควันไม้
-  เพื่อเป็นการจัดการเศษไม้  ให้เกิดประโยชน์
-  ส่งเสริมให้ใช้ถ่านแทนก๊าซหุงต้ม
-  แนะนำส่งเสริมน้ำส้มควันไม้เพื่อเป็นผลพลอยได้จากการตัดกิ่งไม้
ด้านครัวเรือน
  1. น้ำส้มควันไม้ 100% ใช้รักษาแผลสด
  2. น้ำส้มควันไม้ 20 เท่า ทำลายปลวกและมด
  3. น้ำส้มควันไม้ 50 เท่า ป้องกับปลวก มด และแมลงต่างๆ
  4. น้ำส้มควันไม้  100 เท่า และ 200 เท่า และลดกลิ่นและแมลง  ผสมผงถ่านใช้ย่อยและป้องกันโรคท้องเสีย  ปรับปรุงคุณภาพเนื้อสัตว์ให้ใหญ่และแดงเพิ่มปริมาณวิตามิน
ด้านการเกษตร
-  ผสมน้ำ  20 เท่า พ่นลงดินทำลายจุลินทรีย์ที่มีประโยชน์
-  ผสมน้ำ 50 เท่า  ฆ่าจุลินทรีย์ที่ทำลายพืช
-  ผสมน้ำ 200 เท่า ฉีดพ่นใบไม้ขับไล่แมลงและป้องกันเชื้อรา
ด้านอุตสาหกรรม ครัวเรือน
- ใช้ผลิตสารดับกลิ่น, สารปรับผิวนุ่ม, ทำให้เนื้อนิ่ม
- ใช้ย้อมผ้า
- ป้องกันเนื้อไม้จากเชื้อราและแมลง
- เป็นยารักษาโรคผิวหนังเชื้อไทฟอยด์
- เสริมภูมิต้านทานฮอร์โมนทางเพศ
- น้ำส้มควันไม้ที่ผ่านกระบวนการกลั่นแล้วนำไปใช้กระบวนการอาหาร เช่น หยด รม เคลือบหรือเติมแผลสด แผลไฟไหม้ น้ำร้อนรวก บรรเทาอาการเจ็บปวดต่าง ๆ
                                                               
วีธีการเผา
                ใส่ไม้ลงถัง 200 ลิตร ประมาณ 80 ก.ก. โดยเริ่มเก็บน้ำส้มที่อุณหภูมิปากปล่อง 80 องศา  และหยุดเก็นที่ 150 องศา โดยอุณหภูมิดังกล่าวจะไม่มีสารก่อมะเล็ง ใช้เวลาเผา 10 ชม. ได้ถ่าน 15 ก.ก ได้น้ำส้มควันไม้ 2 ลิตร
ข้อควรระวังใน การ ใช้น้ำส้มควันไม้
1. ก่อนนำน้ำส้มควันไม้ไปใช้ต้องทิ้งไว้จากการกักเก็บก่อนอย่างน้อย 3 เดือน
2. เนื่องจากน้ำส้มควันไม้มีความเป็นกรดสูง ควรระวังอย่าให้เข้าตาอาจทำให้ตาบอดได้
3. น้ำส้มควันไม้ไม่ใช่ปุ๋ยแต่เป็นตัวเร่งปฎิกิริยา ดังนั้นการนำไปใช้ทางการเกษตรจะเป็นตัวเสริมประสิทธิภาพให้กับพืชแต่ไม่ สามารถใช้แทนปุ๋ยได้
4. การใช้เพื่อฆ่าเชื้อจุลินทรีย์และแมลงในดิน ควรทำก่อนเพาะปลูกอย่างน้อย 10 วัน
5. การนำน้ำส้มควันไม้ไปใช้ต้องผสมน้ำให้เจือจางตามความเหมาะสมที่จะนำไปใช้
6. การฉีดพ่นน้ำส้มควันไม้ เพื่อให้ดอกติดผล ควรพ่นก่อนที่ดอกจะบาน หากฉีดพ่นหลังจากดอกบานแมลงจะไม่เข้ามาผสมเกสร เพราะกลิ่นฉุนของน้ำส้มควันไม้และดอกจะร่วงง่าย
ผลดีที่จะได้ กับดินมีดังนี้
-   ความเสียหายที่เกิดจากแมลงและโรคในดินลดลง
-  น้ำส้มไม้เพิ่มประสิทธิภาพให้ปุ๋ย โดยทำให้ง่ายต่อการดูดซึมของพืช
-  น้ำส้มไม้ลดความเสียหายอันเกิดจากความเค็ม
     ควรจะใช้ร่วมกับอย่างอื่น เช่น ปุ๋ยหมัก ปุ๋ยอินทรีย์ ในการปรับคุณภาพของดินในระยะยาว 

การทำน้ำส้มควันไม้ให้ บริสุทธิ์
                น้ำส้มควันไม้ที่ได้จากการดักเก็บจะไม่นำไปใช้ประโยชน์ทันที เนื่องจากการเปลี่ยนจากไม้เป็นถ่านไม่ได้เกิดขึ้นพร้อมกันทั้งเตา ดังนั้นควันที่เกิดขึ้นจึงเป็นควันที่ผสมกันระหว่างควันที่อุณหภูมิต่ำและ สูง ดังนั้นจะมีน้ำมันดิน และสารระเหยง่ายปนออกมาด้วย น้ำมันดินที่ละลายน้ำไม่ได้จะนำไปใช้ประโยชน์ในการเกษตรไม่ได้เพราะจะไปปิด ปากใบของพืช และเกาะติดรากพืชทำให้พืชเติบโตช้าหรือตายได้ นอกจากนั้นหากเทลงพื้นดินจะทำให้ดินแข็งเป็นดาน รากพืชไม่สามารถไชลงดินได้ ดังนั้นเมื่อเก็บน้ำส้มควันไม้แล้วต้องทิ้งช่วงและมีการทำให้น้ำส้มควันไม้ บริสุทธิ์ก่อนนำไปใช้โดย นำถ่านล้างน้ำให้สะอาดตากให้แห้งบดเป็นผง  (อัตราส่วนน้ำส้มควันไม้  100 ลิตร / ผงถ่านบด 5 กก. )กวนให้เข้ากัน  ทิ้งไว้ 45 วันสารที่ก่อมะเร็งจะตกอยู่ชั้นกลาง  ใส่ภาชนะทิ้งไว้อีก 45 วันให้ตกตะกอนซึ่งก็คือน้ำส้มควันไม้ที่จะนำไปใช้นั้นเอง ส่วนชั้นล่างสุด นั้นเป็นของเหลวข้นสีดำ เราสามารถนำไปกำจัดปลวกได้

การ เก็บรักษาน้ำส้มควันไม
                การเก็บรักษาน้ำส้มควันไม้ต้องเก็บในที่เย็นร่มหรือเก็บไว้ในภาชนะทึบแสงและ ไม่มีสิ่งรบกวน หากเก็บไว้ที่โล่งแจ้งน้ำส้มควันไม้จะทำปฏิกิริยากับอากาศและรังสีอันตรา ไวโอเลต ในแสงอาทิตย์กลายเป็นน้ำมันดินซึ่งในน้ำมันดินก็จะมีสารก่อมะเร็งด้วย และหากนำไปใช้กับพืช น้ำมันจะจับกับใบไม้ ทำให้ต้นไม้ไม่สามารถสังเคราะห์แสงได้ดี
ที่ ตั้ง


วันอังคารที่ 12 กรกฎาคม พ.ศ. 2554

วันสุนทรภู่

26 มิถุนายน วันสุนทรภู่
ประวัติ สุนทรภู่
 


สุนทรภู่ หรือ พระสุนทรโวหาร (ภู่) มีนามเดิมว่า ภู่ เป็นบุตรขุนศรีสังหาร (พลับ) และแม่ช้อย เกิดในรัชกาลที่ ๑ กรุงรัตนโกสินทร์ เมื่อวันจันทร์ เดือนแปด ขึ้นหนึ่งค่ำ ปีมะเมีย จุลศักราช ๑๑๔๘ เวลาสองโมงเช้า ตรงกับวันที่ ๒๖ มิถุนายน พ.ศ.๒๓๒๙ ที่บ้านใกล้กำแพงวังหลัง คลองบางกอกน้อย สุนทรภู่เกิดได้ไม่นาน บิดามารดาก็หย่าจากกันฝ่ายบิดากลับไปบวชที่บ้านกร่ำ เมืองแกลง จ.ระยอง ส่วนมารดา คงเป็นนางนมพระธิดา ในกรมพระราชวังหลัง (กล่าวกันว่าพระองค์เจ้าจงกล หรือเจ้าครอกทองอยู่) ได้แต่งงาน มีสามีใหม่และมีบุตรกับสามีใหม่ ๒ คนเป็นหญิง ชื่อฉิมและนิ่ม ตัวสุนทรภู่เองได้ถวายตัวเป็นข้าในกรมพระราชวังหลังตั้งแต่ยังเด็ก สุนทรภู่เป็นคนเจ้าบทเจ้ากลอน สันทัดทั้งสักวาและเพลงยาว เมื่อรุ่นหนุ่มเกิดรักใคร่ชอบพอกับนาง ข้าหลวงในวังหลัง ชื่อแม่จัน ครั้นความทราบถึงกรมพระราชวังหลัง พระองค์ก็กริ้ว รับสั่งให้นำสุนทรภู่ และจันไปจองจำทันที แต่ทั้งสองถูกจองจำได้ไม่นาน เมื่อกรมพระราชวังหลังเสด็จทิวงคตในปี
พ.ศ. ๒๓๔๙ ทั้งสองก็พ้นโทษออกมา เพราะเป็นประเพณีแต่โบราณที่จะมีการปล่อยนักโทษ เพื่ออุทิศ ส่วนพระ ราชกุศลแด่ พระมหากษัตริย์หรือพระราชวงศ์ชั้นสูง เมื่อเสด็จสวรรคตหรือทิวงคตแล้ว แม้จะพ้นโทษ สุนทรภ ู่และจันก็ยังมิอาจสมหวังในรัก สุนทรภู่ถูกใช้ไปชลบุรี สุนทรภู่ได้เดินทางเลยไปถึงบ้านกร่ำ เมืองแกลง จังหวัด ระยอง เพื่อไปพบบิดาที่จากกันกว่า ๒๐ ปี สุนทรภู่เกิดล้มเจ็บหนักเกือบถึงชีวิต กว่าจะกลับมากรุงเทพฯ ก็ล่วง ถึง เดือน ๙ ปี พ.ศ.๒๓๔๙ หลังจากกลับจากเมืองแกลง สุนทรภู่ได้เป็นมหาดเล็กของพระองค์เจ้าปฐมวงศ ์ พระโอรสองค์เล็กของกรมพระราชวังหลัง ซึ่งทรงผนวชอยู่ที่วัดระฆัง ในช่วงนี้ สุนทรภู่ก็สมหวังในรัก ได้แม่จันเป็นภรรยาสุนทรภู่คงเป็นคนเจ้าชู้ แต่งงานได้ไม่นานก็เกิดระหองระแหงกับแม่จัน ยังไม่ทันคืนดี สุนทรภู่ก็ต้องตามเสด็จพระองค์เจ้าปฐมวงศ์ไปนมัสการพระพุทธบาท จ.สระบุรี ในวันมาฆบูชา สุนทรภ ู่ได้แต่งนิราศ เรื่องที่สองขึ้น คือ นิราศพระบาท สุนทรภู่ตามเสด็จกลับถึงกรุงเทพฯ ในเดือน ๓ ปี
  
http://www.thai-tour.com/thai-tour/east/rayong/data/soontornphu.htm

วันสิ่งแวดล้อมโลก

วันสิ่งแวดล้อมโลก

ในวันที่ 5 มิถุนายน ของทุกปีนั้น เป็นวันสิ่งแวดล้อมโลก ซึ่งเป็นวันที่เราควรจะทำอะไรสักอย่างเพื่อสภาพแวดล้อมของเราที่ย่ำแย่ลงทุก วัน สังเกตได้จากปรากฏการณ์ต่างๆ ทั้งหิมะขั้วโลกเหนือละลาย น้ำท่วม แผ่นดินไหว หรืออากาศร้อนขึ้น ซึ่งผลเหล่านี้ล้วนมาจากการมนุษย์ที่เป็นคนทำลายธรรมชาติ ทำลายสิ่งแวดล้อมดีๆ นั่นเอง ทำให้หน่วยงานของโลกจัดตั้งวันสิ่งแวดล้อมโลกขึ้น

          สำหรับ จุดเริ่มต้นของวันสิ่งแวดล้อมโลก หรือ World Environment Day นั้นจัดทำขึ้นเพื่อให้เกิดความตื่นตัวในด้านวิกฤตการณ์สิ่งแวดล้อมขึ้นทั่ว โลก จึงมีมติให้จัดประชุมใหญ่ที่กรุงสตอกโฮลม์ ระหว่างวันที่ 5-16 มิถุนายน พ.ศ. 2515 ที่มีรัฐบาลของสวีเดนเป็นเจ้าภาพ โดยเรียกการประชุมนี้ว่า "การ ประชุมสหประชาชาติเรื่องสิ่งแวดล้อมของมนุษย์" หรือ "UN Conference on the Human Environment" ซึ่งมีผู้เข้าร่วมประชุมกว่า 1,200 คน จาก 113 ประเทศ รวมถึงมีผู้สังเกตการณ์อีกกว่า 1,500 คน จากหน่วยงานของรัฐ องค์การสหประชาชาติ และสื่อมวลชนแขนงต่างๆ

          ทั้ง นี้เพื่อร่วมกันหาหนทางแก้ไขปัญหาสิ่งแวดล้อมที่ประเทศต่างๆ กำลังเผชิญอยู่ ซึ่งผลจากการประชุมครั้งนั้นได้มีข้อตกลงร่วมกันหลายอย่าง เช่น การจัดตั้งโครงการสิ่งแวดล้อมแห่งสหประชาชาติ (UNEP: United Nations Environment Programme) ที่มีสำนักงานใหญ่อยู่ที่กรุงไนโรบี ประเทศเคนยา และรัฐบาลประเทศต่างๆ ก็ได้รับข้อตกลงจากการประชุมคราวนั้น ไปจัดตั้งหน่วยงานด้านสิ่งแวดล้อมขึ้นในประเทศของตน ดังนั้นเพื่อเป็นการระลึกถึงจุดเริ่มต้นของการร่วมมือ จากหลากหลายชาติในด้านสิ่งแวดล้อม องค์การสหประชาชาติจึงได้ประกาศให้วันที่ 5 มิถุนายน ของทุกปีเป็นวันสิ่งแวดล้อมโลก
http://hilight.kapook.com/view/24504

วันงด สูบบุหรี่โลก ตรงกับวันที่ 31 พ.ค.

วันงด สูบบุหรี่โลก  ตรงกับวันที่ 31 พ.ค. 

ทุกคนก็คงจะรู้ถึงโทษของการสูบบุหรี่ กันอยู่แล้วว่า มันส่งผลเสียต่อสุขภาพของเราอย่างไร แต่หลายคนก็ยังเลือกที่จะสูบมัน บางคนเลือกที่จะสูบบุหรี่เพียงเพราะความเท่ห์จนในที่สุดก็ติดเป็นนิสัย และเนื่องในวันที่ 31 พฤษภาคมของทุกปีนั้น เป็น วันงดสูบบุหรี่โลก และ วันงดสูบบุหรี่โลก 2554 ใกล้มาถึงแล้ว กระปุกดอทคอมจึงมีบทความเกี่ยวกับ วันงดสูบบุหรี่โลก มาฝาก และลองใช้วันนี้เป็นจุดเริ่มต้นในการเลิกบุหรี่กันดีไหม?
          วัน งดสูบบุหรี่โลก เริ่มมีการจัดงานครั้งแรกในวันที่ 31 พฤษภาคม พ.ศ.2531 เนื่องจากองค์การอนามัยโลก เล็งเห็นอันตรายของบุหรี่และสุขภาพของผู้สูบบุหรี่ รวมถึงผู้ที่ไม่สูบแต่ต้องมารับควันบุหรี่ด้วย จึงจัดงานวันงดสูบบุหรี่โลก หรือชื่อในภาษาอังกฤษว่า World No Tobacco Day เพื่อกระตุ้นให้ผู้ที่สูบบุหรี่อยู่เลิกสูบ และให้รัฐบาลชุมชนและประชากรโลกได้ตระหนักถึงความสำคัญเพื่อเข้าร่วมกิจกรรม อีกทั้งยังได้ประกาศให้มีการรณรงค์เพื่อการไม่สูบบุหรี่ที่ใช้ชื่อว่า World Spidemic ซึ่งสื่อถึงการสูบบุหรี่ที่เป็นเหมือนโรคระบาดที่ระบาดอยู่ทั่วโลก โดยในวันงดสูบบุหรี่โลกในแต่ละปี ก็จะมีคำขวัญวันงดสูบบุหรี่โลกที่แตกต่างกันออกไป ดังต่อไปนี้

 http://hilight.kapook.com/view/24310

 

วันอังคารที่ 28 มิถุนายน พ.ศ. 2554

วัน สำคัญ เดือน พฤษภาคม - มิถุนายน
ขมิ้นชัน
ขมิ้นชันมีประโยชน์ และสรรพคุณ หลายประการดังนี้
ขมิ้น ชันมีวิตามิน เอ,ซี,อี ทั้ง 3 ตัว วิตามินที่เข้าสู่ร่างกายแล้วจะทำงานได้ ต้องมีพร้อมกันทั้ง 3 ตัว ซึ่งจะมีผลทำให้
- ช่วยลดไขมันในตับ
- สมานแผลภายในกระเพาะอาหาร
- ช่วยย่อยอาหาร
- ทำความสะอาดให้ลำไส้
- เปลี่ยนไขมันให้เป็นกล้ามเนื้อ
- ต้านอนุมูลอิสระป้องกันการเกิดมะเร็งในตับ
- สร้างภูมิคุ้มกันให้กับผิวหนัง
- กำจัดเชื้อราที่ปนเปื้อนในอาหารที่กินเข้าไปแล้วสะสมในร่างกายเตรียมก่อตัว เป็นเซลล์มะเร็ง
- ช่วยขับน้ำนมสำหรับสตรีหลังคลอดบุตรได้ดี รองมาจากการกินหัวปลี

http://www.alternativecomplete.com/herbal1.php