วันอังคารที่ 25 ตุลาคม พ.ศ. 2554

กล้วย  

กล้วย เป็นพรรณไม้ล้มลุกในสกุล Musa มีหลายชนิด เช่น กล้วยน้ำว้า กล้วยน้ำไท กล้วยหอมทอง กล้วยหอมเขียว กล้วยไข่ กล้วยตานี กล้วยหักมุก กล้วยเล็บมือนาง กล้วยนิ้วมือนาง กล้วยส้ม กล้วยนาค กล้วยหิน กล้วยงาช้าง ฯลฯ บางชนิดก็ออกหน่อแต่ว่าบางชนิดก็ไม่ออกหน่อ ใบแบนยาวใหญ่ ก้านใบตอนล่างเป็นกาบยาวหุ้มห่อซ้อนกันเป็นลำต้น ออกดอกที่ปลายลำต้นเป็น ปลี และมักยาวเป็นงวง มีลูกเป็นหวี ๆ รวมเรียกว่า เครือ พืชบางชนิดมีลำต้นคล้ายปาล์ม ออกใบเรียงกันเป็นแถวทำนองพัดคลี่ คล้ายใบกล้วย เช่น กล้วยพัด (Ravenala madagascariensis) ทว่าความจริงแล้วเป็นพืชในสกุลอื่น ที่มิใช่ทั้งปาล์มและกล้วย    ต้นกล้วย หรือหยวกกล้วย หรือกาบกล้วย   ใช้ประกอบอาหารได้หลายอย่าง  เช่น  แกงกะทิ แกงเลียง แกงป่า ผัดเผ็ด ห่อหมก เป็นต้น
      ก้านกล้วย เมื่อ ปลอกเปลือกนอกที่แข็งและเหนียวออกแล้ว จะได้ไส้ในที่อ่อนนุ่มเป็นรูพรุนดั่งฟองน้ำ  มีรสหวานนิด ๆ นำไปหั่นละเอียดใส่เป็นส่วนผสมของอาหารจำพวก ลาบ ลู่ ต่าง ๆ เพื่อเพิ่มปริมาณ และรสชาติ ได้เป็นอย่างดี
     ใบกล้วย หมายถึง  ใบอ่อน ส่วนที่ฝังอยู่ใจกลางลำต้นกินสด ๆ หรืออาจจะลวกให้นิ่ม จิ้มน้ำพริกกิน กับข้าวอร่อยดีนัก
     ปลีกล้วย   หลาย ท้องถิ่นนำมาจิ้มน้ำพริกกินกับข้าว ทั้งในรูปผักสด และผักต้ม  บางถิ่นนำมาหั่น ให้ฝอย เป็นผักเคียงกินกับขนมจีน หรือหมี่กะทิ ในขณะที่หลายท้องถิ่นนำไปประกอบอาหาร ประเภทยำ และประเภทต่าง ๆ
     ผลกล้วยดิบ   เรา นำกล้วยดิบไปประกอบอาหาร ทั้งอาหารคาว และหวาน อาหารคาว เช่น กล้วยลูกอ่อนต้ม เป็นผักจิ้มน้ำพริก หรือหั่นเป็นแว่นบาง ๆ ดองเป็นผักจิ้ม ทำส้มตำกล้วย ทำแกงเผ็ด เครื่องเคียงแหนมเนือง เป็นต้น      อาหารหวาน  เช่น กล้วยลูกโตพอสมควรนำมาต้มแล้วปลอกเปลือก หั่นเป็นชิ้นโรยมะพร้าวขูด และน้ำตาล หรือนำมาฝานบาง ๆ ทำเป็นกล้วยฉาบ เป็นต้น แต่ถ้าเป็นกล้วยที่ห่ามแล้วก็นำไปทำกล้วยปิ้ง กล้วยเผา กล้วยทับ ฯลฯ
      ผลกล้วยสุก   นอก จากเรากินกล้วยสุกในฐานะผลไม้อย่างดีชนิดหนึ่งแล้วเรายังนำกล้วยสุก ไปประกอบ หรือทำเป็นอาหารหวานชนิดต่าง ๆ ได้สารพัด เช่น กล้วยบวชชี กล้วยเชื่อม กล้วยแขก ข้าวเม่าทอด ข้าวต้มผัด กล้วยกวน ขนมกล้วย เป็นต้น นอกจากนี้อาจทำเป็นกล้วยคืนรูปโดยนำกล้วยสุก ไปลวกน้ำร้อน แล้วนำไปตากให้แห้ง เก็บไว้นาน ๆ เมื่อต้องการใช้ก็นำมาลวกน้ำร้อนอีกครั้งจะคืนสภาพ เหมือนกล้วยสุก ทั่วไป นำไปประกอบอาหารได้ตามวัตถุประสงค์

การทำเครื่องจักสานจากต้นกล้วย

เนื่องจากต้นกล้วยเล็บมือนางในพื้นที่มีมากและขาดการนำมาใช้ประโยชน์ป้าแดงจึงทดลองนำเอาต้นกล้วยมาทำการจักสานเป็นเครื่องใช้ต่างๆปรากฏว่าได้ผลดีจึงทดลองทำออกจำหน่าย ซึ่งเป็นที่ต้องการของลูกค้า การทำเครื่องจักสานจากต้นกล้วยทำง่ายๆ ดังนี้
การทำเครื่องจักสานจากต้นกล้วย
 เครื่องจักสานจากต้นกล้วย
วัสดุ/อุปกรณ์
• ต้นกล้วยเล็บมือนาง
• มีด
• เครื่องรีด
• ราวสำหรับตากต้นกล้วย
• แบบรูปทรงของที่จะจักสาน
วิธีการ
• ทำการคัดเลือกต้นกล้วยที่จะนำมาจักสานโดยให้เลือกต้นทีตัดผลแล้ว มีลำต้นสูง ใหญ่นำมาทำเป็นเชือกกล้วยก่อนที่จะนำมาจักสาน
• จากนั้นนำมาลอกเอาเฉพาะกาบที่มีลักษณะสีขาว มาทำการฝานเป็นเส้นตามแนวยาวให้มีความหนาประมาณ ½ นิ้ว
• จากนั้นนำไปตากให้แห้งสนิท ซึ่งจะใช้เวลาประมาณ 2-3 วันก็ใช้ได้แล้ว
• เมื่อเชือกกล้วยแห้งสนิทแล้วก็นำมารีดด้วยเครื่องรีดให้มีความนุ่มเพื่อสะดวกในการจักสาน
• จากนั้นให้ทำการลอกเชือกกล้วยให้เป็นสองเส้นและขูดนำเนื้อเยื่อข้างในออกให้หมด
• นำมารีดอีกครั้ง แล้วนำไปจักสานขึ้นรูปตามความต้องการ เช่นกระเป๋า หมวก ตะกร้าฯลฯ
ข้อดีของเครื่องจักสานจากเชือกกล้วย
• มีความคงทน สวยงาม
• เป็นการให้วัสดุที่มีอยู่ในท้องถิ่นให้เกิดประโยชน์
อันดับZingiberales
วงศ์Musaceae
การขยายพันธุ์กล้วย
กล้วยเป็นพืชที่ขยายพันธุ์ง่าย  สะดวก  และไม่มีขั้นตอนยุ่งยากซับซ้อนแต่อย่างใด
เดิมทีเดียวการขยายพันธุ์กล้วยทำได้  2  วิธี  ได้แก่
1.การขยายพันธุ์โดยเมล็ด
2.การขยายพันธุ์โดยหน่อ
1.การขยายพันธุ์โดยเมล็ด
เป็นวิธีธรรมชาติดั้งเดิมของการขยายพันธุ์กล้วยที่มีเมล็ดมากอย่างกล้วยตานีและกล้วยน้ำว้าบางพันธุ์
การขยายพันธุ์โดยเมล็ดนี้  แต่เดิมชาวสวนจะนำเมล็ดแก่จากผลกล้วยที่แก่เต็มที่มาเพาะ  แต่เนื่องจากเมล็ดกล้วยมีเปลือกที่หนามากทำให้การเพาะเมล็ดต้องใช้เวลานานตั้งแต่  1-4  เดือน  จึงจะงอกให้เห็นต้นอ่อน  ทำให้การขยายพันธุ์โดยการเพาะเมล็ดค่อยๆ  เสื่อมความนิยมลงไปจนเกือบไม่มีชาวสวนคนใดใช้วิธีขยายพันธุ์กล้วยโดยวิธีการเพาะเมล็ดอีกแล้ว  นอกจากนี้นักวิชาการที่เพาะเมล็ดเพื่อการศึกษาค้นคว้า
2.การขยายพันธุ์โดยใช้หน่อ
ใช้หน่ออ่อน  (Peepers)หน่ออ่อน  ในนี้หมายถึง  หน่อที่มีอายุน้อยและมีขนาดเล็ก  ลักษณะของหน่อ  ใบเป็นใบเกล็ด  อยู่เหนือผิวดิน  (ปัจจุบันวิทยาการเจริญก้าวหน้า  พบว่า  หน่ออ่อนไม่เหมาะสำหรับการขยายพันธุ์)
ใช้หน่อใบดาบ  (Sword  Suckers)หน่อใบดาบ  หมายถึง  หน่อกล้วยที่เกิดจากตาของเหง้าหน่อใบนี้ลักษณะใบจะเรียวเล็กและยาวเหมือนมีดดาบ  (บางคนเรียกหน่อใบแคระ)  หน่อมีความสูงประมาณ  75-80  เซนติเมตร  มีเหง้าติดอยู่เหมาะสำหรับการขยายพันธุ์  เพราะจะเจริญเติบโตแข็งแรงและให้ผลผลิตดี
ใช้หน่อแก่  (Median Suckers)
หน่อแก่  หมายถึง  หน่อที่เจริญเติบโตมาจากหน่อใบดาบใบจะแผ่กว้าง
วิธีดูว่าหน่อกล้วยใดเป็นหน่อแกให้นับอายุ  ในกรณีนี้หน่อแก่  หมายถึง  หน่อที่มีอายุประมาณ  5-8  เดือน
ใช้หน่อใบกว้าง  (Water Suckers)
หน่อใบกว้าง  หมายถึง  หน่อที่เกิดจากตาของเหง้าแก่หรือจากเหง้าที่ไม่สมบูรณ์  ใบจะแผ่กว้างขณะที่หน่อยังมีอายุน้อย  ซึ่งหน่อใบกว้างจะเกิดก็ต่อเมื่อต้นแม่ออกเครือและตัดเครือแล้ว  หน่อชนิดนี้จริงๆแล้วไม่เหมาะที่จะนำไปขยายพันธุ์  เพราะจะให้ผลขนาดเล็กลง
ส่วนที่ใช้
ยางกล้วยจากใบ ผลดิบ ผลสุก(ทุกประเภท) ผลดิบ หัวปลี
สรรพคุณ
ยางกล้วยจากใบ ใช้ห้ามเลือด โดยใช้ยางกล้วยจากใบหยอดลงที่บาดแผล ผลดิบ แก้โรคท้องเสีย ยาฝาดสมาน แผลในกระเพาะอาหารและอาหารไม่ย่อย โดยใช้กล้วยดิบทั้งลูก บดกับน้ำให้ละเอียดและใส่น้ำตาล รับประทาน(หรือไม่อาจใช้กล้วยดิบตากแห้งบดเป็นผงเก็บไว้ใช้ในยามที่จำเป็น อาจใช้ผสมกับน้ำผึ้งหรือน้ำอุ่นกิน) ผลสุก ใช้เป็นอาหาร เป็นยาระบายสำหรับผู้ที่เป็นโรคริดสีดวงทวารหรือผู้ที่อุจจาระแข็ง วิธีใช้โดยใช้กล้วยสุก 2 ผล ปิ้งกินทั้งเปลือก หัวปลี แก้โรคเกี่ยวกับลำไส้ แก้โรคโลหิตจาง และลดน้ำตาลในเลือด


กล้วยปิ้ง


                    เรื่องกล้วยๆที่ไม่กล้วยเหมือนชื่อ วันนี้ไปเจอธุรกิจตัวหนึ่งน่าสนใจนั่นคือ กล้วยปิ้ง ฃอย่าเพิ่งดูถูกกล้วยปิ้งนะครับ กล้วยปิ้งอาหารธรรมดาที่ใครก็ต้องเคยกินรสชาติอร่อยเหมาะสำหรับเป็นของกิน เล่นยามว่างหรือจะกินจริงก็อร่อยไม่แพ้กัน วันนี้ผ่านไปเจอกล้วยปิ้ง ก็เลยนำข้อมูลมาให้คุณๆทั้งหลายได้ลองศึกษากันดู อาจจะสนใจทำเป็นอาชีพเสริมได้หลังเลิกงาน ง่ายสบายๆไม่ยุ่งยากมาดูวิธีทำกันเลย


ส่วนประกอบ

กล้วยน้ำว้าแก่กึ่งสุกกึ่งดิบ


ส่วนประกอบน้ำจิ้ม

1. กะทิ

2. น้ำตาลปิ๊บ

3. น้ำตาลทราย

4. โอวัลติน นิดหน่อย

5. เกลือ

6. นมสด


วิธีทำ

1. นำส่วนผสมน้ำจิ้ม ไปตั้งไฟเคี่ยวให้เหนียว โดยใส่ส่วนผสมทั้งหมดลงไป เคี่ยวจนเหนียวพักไว้ให้เย็น

2. หั่นกล้วยตามขวางเป็นชิ้นพอคำ เสียบไม้

3. นำมาย่างไฟให้เหลืองอ่อนๆ แล้วนำไปทุบด้วยไม้นวดแป้งให้แบน

4. แล้วนำไปราดน้ำจิ้มที่เตรียมไว้

สูตรที่ 2.

ส่วนผสมกล้วยน้ำว้าแก่ๆ ไม่ดิบไม่สุก

ส่วนประกอบน้ำจิ้ม

1. น้ำตาลมะพร้าว 2 ฝา

2. กะทิ 1 ถ้วย

3. เนยเค็ม 4 ช้อนโต๊ะ

4. เกลือนิดหน่อย


วิธีทำ

1. นำกะทิ กับน้ำตาลมาต้มให้เดือดพอน้ำตาลละลายก็เติมเนยเกลือ เคี่ยวให้ข้นเหนียวพักไว้ให้เย็น

2. หั่นกล้วยเป็นแว่นๆ ขนาดพอดีคำ และก็เสียบไม้เตรียมไว้

3. นำมาย่างไฟให้เหลืองอ่อนๆ แล้วนำไปทุบด้วยไม้นวดแป้งให้แบน

4. พอกล้วยสุก ก็นำไม้ที่นวดแป้งมาทับให้แบนแบน ราดน้ำเชื่อมเป็นอันใช้ได้

1 ความคิดเห็น: