วันจันทร์ที่ 5 มีนาคม พ.ศ. 2555

แกงหน่อไม้ใบหญ้านาง

อาหารสมุนไพร




ส่วนผสม
     - หน่อไม้รวกต้มสุกหั่นเป็นท่อนขนาดพอคำ      2  ถ้วย
     - เห็ดนางฟ้าฉีกเป็นชิ้น                                1  ถ้วย
     - ชะอมเด็ดเป็นช่อ                                     ½ ถ้วย
     - ใบแมงลัก                                              ½ ถ้วย
     - ตะไคร้ซอย                                             2  ต้น
     - หอมเล็กซอย                                         ¼  ถ้วย
     - พริกขี้หนูสวน                                     10-15 เม็ด
     - น้ำปลาร้า                                               ¼ ถ้วย
     - ข้าวเบือบดละเอียด                                 1½ ช้อนโต๊ะ
     - น้ำเปล่า                                                   3 ถ้วย
     - ใบย่านาง                                           25-30 ใบ
วิธีทำ 1.  โขลกตะไคร้ หอมเล็ก และพริกขี้หนูเข้าด้วยกันจนละเอียด พักไว้
2.  โขลกใบย่านางให้ละเอียดแล้วคั้นร่วมกับน้ำ กร่องส่วนที่เป็นใบย่านางออก      จะได้น้ำสีเขียวเข้ม นำไปตั้งไฟให้เดือด
3.  ใส่เครื่องแกงที่เตรียมไว้ในข้อแรกลงไปคนผสมให้เข้ากัน ตามด้วยหน่อไม้      ปรุงรสด้วยน้ำปลาร้าและน้ำปลา ใส่ข้าวเบือลงไป ตั้งไฟให้ส่วนผสม
      เดือด  อีกครั้ง จึงใส่เห็ดฟาง ชะอม และใบแมงลัก  คนพอเข้ากัน ปิดไฟ      ยกลง ตักเสิร์ฟได้ทันที
เคล็ดลับใช้หน่อไม้ไผ่ตงสดแทนหน่อไม้รวกได้ตามชอบ

 สรรพคุณทางยา
1. หน่อไม้ มีรสขมหวานร้อน

* ราก รสอร่อยเอียนเล็กน้อย ใช้ขับปัสสาวะ แก้ไตพิการ
* ใบไผ่ เป็นยาขับฟอกล้างโลหิตระดูที่เสีย

2. ย่านาง มีรสจืด ทั้งต้นนำมาปรุงเป็นยาแก้ไข้กลับ

* ใบ ใช้เป็นยาถอนพิษ ปรุงรวมกับยาอื่นแก้ไข้
* ราก แก้เบื่อเมา กระทุ้งพิษไข้ เป็นเมาสุรา ถอนพิษผิดสำแดง

3. เห็ดฟาง (เห็ดบัว) รสจืด ให้พลังงานและสารอาหารโปรตีนที่มีคุณค่าแทนเนื้อสัตว์ช่วยกระจายโลหิต

4. ชะอม รากชะอมมีสรรพคุณแก้ท้องเฟ้อ ขับลมในลำไส้แก้อาการปวดเสียวในท้องได้ดี ยอดชะอมใบอ่อน มีรสจืด กลิ่นฉุน (กลิ่นหอมสุขุม) ช่วยลดความร้อนของร่างกาย

5. ฟักทอง มีคุณค่าทางอาหารสูง บำรุงสายตา บำรุงร่างกาย

??? 6. ข้าวโพด รสหวานมัน เมล็ด เป็นยาบำรุงกระเพาะอาหาร ฝาดสมาน บำรุงหัวใจ ปอด เจริญอาหาร ขับปัสสาวะ

* ?ราก ต้มกินรักษานิ่ว และอาเจียน

7. แมงลัก ใบสด รสหอมร้อน เป็นยาแก้หวัด แก้หลอดลมอักเสบ แก้โรคท้องร่วง ขับลม

8. ตะไคร้ แก้ปวดท้อง ขับปัสสาวะ บำรุงธาตุ ช่วยเจริญอาหาร และขับเหงื่อ

9. กระชาย รสร้อน แก้ท้องอืดเฟ้อ ขับลม แก้บิดมีตัว ขับพยาธิตัวกลม และพยาธิเส้นด้ายในเด็ก ใช้แต่งกลิ่น สี รสอาหารที่มีคุณค่าทางอาหารสูง ไม่มีพิษ

10. พริกขี้หนู รสเผ็ดร้อน ช่วยย่อย

คุณค่าทางโภชนาการ
แกงหน่อไม้ใส่ใบย่านาง รสชาติโดยรวมจะออกไปทางขมร้อน จากการใส่ผักหลายชนิดซึ่งมีทั้งรสร้อน รสขม จืดมัน จึงช่วยในการบำรุงธาตุ ขับปัสสาวะ แก้ไข้ ขับลม และช่วยเจริญอาหาร

แกงหน่อไม้ใบหญ้านาง 1 ชุด ให้พลังงานต่อร่างกาย 422 กิโลแคลอรี ประกอบด้วย

- น้ำ 651.75 กรัม
- โปรตีน 31 กรัม
- ไขมัน 8.97 กรัม
- คาร์โบไฮเดรต 55 กรัม
- กาก 13.8 กรัม
- ใยอาหาร 1.125 กรัม
- แคลเซียม 372 มิลลิกรัม
- ฟอสฟอรัส 304.25 มิลลิกรัม
- เหล็ก 18 มิลลิกรัม
- เบต้า-แคโรทีน 9 ไมโครกรัม
- วิตามินเอ 17595.9 IU
- วิตามินบีหนึ่ง 0.694 มิลลิกรัม
- วิตามินปีสอง 1.4 มิลลิกรัม
- ไนอาซิน 22.2 มิลลิกรัม
- วิตามินซี 130 มิลลิกรัม

วันอังคารที่ 6 ธันวาคม พ.ศ. 2554

น้ำยาเอนกประสงค์

สูตรน้ำยาล้างจาน น้ำยาเอนกประสงค์



ส่วน​ผสม 
  • N70 (หัวแชมพู)                     1     ​กิ​โลกรัม
  • F24 (สารขจัดคราบไขมัน)      1/2  ​กิ​โลกรัม
  • เกลือ​                                    1-1.5 ​กิ​โลกรัม


วิธีทำ
  1. ต้มเกลือ​โดย​ใช้​น้ำ​ 2-3 ​ลิตร​ ​จนเกลือละลายหมด​ ​ตั้ง​ไว้​จนเย็น
  2. เอา​ N 7O ​ผสม​กับ​ F 24 ​กวน​ให้​เข้า​กัน​ ​ราว​ 10 ​นาที
  3. ค่อยๆ​เทน้ำ​เกลือลงไปทีละน้อยๆ​ ​แล้ว​กวน​ให้​เข้า​กัน​ ​จนหมด
  4. หลัง​จาก​นั้น​ ​เติมน้ำ​ลงไป​และ​กวนเรื่อยๆ​ ​โดย​ใช้​น้ำ​ประมาณ​ 10-15 ​ลิตร​ ​ทั้ง​นี้​ให้​สังเกตว่า​ ​ความ​ข้นของน้ำ​ยาอเนกประสงค์​ ​หาก​ยัง​ข้น​หรือ​เหนียวมาก​ ​ก็​สามารถ​เติมน้ำ​เปล่า​ ​ลงไป​ได้​อีก​ ​จนเห็นว่า​ ​ได้​ความ​ข้นที่​เหมาะสม
  5. ใส่​หัวน้ำ​หอม​ ​กวน​ให้​เข้า​กัน​ ​แล้ว​ตั้งทิ้ง​ไว้​จนฟองยุบ​(1 ​คืน) ​แล้ว​ตัก​ใส่​ขวดเอา​ไว้​ใช้




ถ้า​สามารถ​ทำ​เอง​ได้​ประหยัดกว่าซื้อตั้งเยอะ​ ​เรื่องของเศรษฐกิจพอเพียงอย่าทำ​ให้​เป็น​เรื่องยาก​ ​ถ้า​อันไหนที่ทำ​แล้ว​สามารถ​พึ่งตัวเอง​ได้​ก็​เป็น​ส่วน​หนึ่งของเศรษฐกิจพอเพียง​แล้ว​ครับ​ ​อีกอย่างคุณก็​จะ​เป็น​ "คนมีน้ำ​ยา​"

​เรื่องยาก​ ​ถ้า​อันไหนที่ทำ​แล้ว​สามารถ​พึ่งตัวเอง​ได้​ก็​เป็น​ส่วน​หนึ่งของ

ไม้ไผ่







ไม้ไผ่


อาหาร


ของใช้จากไม้ไผ่






 ในประเทศไทยนั้น พบไผ่อยู่ 30 ชนิด ดังนี้


ประโยชน์ของไม้ไผ่
1.  ด้านการอนุรักษ์ธรรมชาติ
-   ป้องกันการพังทลายของดินตามริมฝั่ง
-   ช่วยเป็นแนวป้องกันลมพายุ
-   ชะลอความเร็วของกระแสน้ำป่าเมื่อฤดูน้ำหลากกันภาวะน้ำท่วมฉับพลัน  จัดแต่งเป็นมุมพักผ่อนหย่อนใจในบ้านเรือน
<><>
อันดับPoales
วงศ์Poaceae
วงศ์ย่อยBambusoideae
 
<><>

ป่าไผ่ ในเกียวโต ประเทศญี่ปุ่นไผ่ เป็นไม้พุ่มหลายชนิดและหลายสกุลใน วงศ์หญ้า Poaceae (เดิมคือ Gramineae) วงศ์ย่อย Bambusoideae เป็นไม้ไม่ผลัดใบใน ขึ้นเป็นกอ ลำต้นเป็นปล้องๆ เช่น ไผ่จีน (Arundinaria suberecta Munro) ไผ่ป่า (Bambusa arundinacea Willd.) ไผ่สีสุก (B. flexuosa Munro และ B. blumeana Schult.) ไผ่ไร่ (Gigantochloa albociliata Munro) ไผ่ดำ (Phyllostachys nigra Munro).
ผลผลิตจากไผ่ที่สำคัญคือ หน่อไม้ ซึ่งเป็นอาหารสำคัญของคนไทย นิยมทานกันมากในเกือบทุกภาคของประเทศไทย โดยเฉพาะภาคเหนือและอีสาน นอกจากนี้ไม้ไผ่ยังมีคุณสมบัติพิเศษทั้งด้านความแข็งแรงและยืดหยุ่นที่เหนือกว่าวัสดุสังเคราะห์หลายชนิด ดังนั้นจึงยังได้รับความนิยมในการทำเครื่องมือเครื่องใช้หลายประเภท ใช้ชะลอน้ำที่เข้าป่าชายเลน นั่งร้านก่อสร้างและบันได เป็นต้น

มะละกอ

มะละกอ

มะละกอ (อังกฤษ: Papaya, เป็นไม้ผลชนิดหนึ่ง สูงประมาณ 5-10 เมตร มีถิ่นกำเนิดในอเมริกากลาง ถูกนำเข้าสู่ประเทศไทยในสมัยกรุงศรีอยุธยา ผลดิบมีสีเขียว เมื่อสุกแล้วเนื้อในจะมีสีเหลืองถึงส้ม นิยมนำมารับประทานทั้งสดและนำไปปรุงอาหาร เช่น ส้มตำ ฯลฯ หรือนำไปแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์อื่น ๆ ก็ได้
มะละกอขณะออกผล
มะละกอขณะออกผล
ลักษณะทั่วไป มะละกอเป็นไม้ล้มลุก (บางครั้งอาจเข้าใจผิดว่าเป็นไม้ยืนต้น) ใบมีลักษณะเป็นใบเดี่ยว 5-9 แฉก เกาะกลุ่มอยู่ด้านบนสุดของลำต้น ภายในก้านใบและใบมียางเหนียวสีขาวอยู่ มะละกอบางต้นอาจมีดอกเพียงเพศเดียว แต่บางต้นอาจมีดอกได้ทั้งสองเพศก็ได้ ผลเป็นรูปรี อาจหนักได้ถึง 9 กิโลกรัม ผลดิบมีสีเขียว และมีน้ำยางสีขาวสะสมอยู่ที่เปลือก ส่วนผลสุก เนื้อในจะมีสีเหลืองถึงส้ม มีเมล็ดสีดำเล็ก ๆ อยู่ภายในกินไม่ได้
ประโยชน์
นอกจากการนำมะละกอไปรับประทานสด ๆ แล้ว เรายังสามารถนำไปปรุงอาหาร เช่น ส้มตำ แกงส้ม ฯลฯ หรือนำไปหมักเนื้อให้นุ่มได้อีกด้วย เพราะในมะละกอมีเอนไซม์ชนิดหนึ่งเรียกว่า พาเพน (Papain) ซึ่งสามารถนำเอนไซม์ชนิดนี้ไปใส่ในผงหมักเนื้อสำเร็จรูป บางครั้งนำไปทำเป็นยาช่วยย่อยสำหรับผู้ที่มีปัญหาอาหารไม่ย่อยก็ได้

สรรพคุณของมะละกอ สรรพคุณของมะละกอมีมากมายนัก ใช้เป็นยาสมุนไพรรักษาโรคได้
1. แก้อาการขัดเบา ใช้รากสด (1 กำมือ) 70-90 กรัม รากแห้ง 25-35 กรัม หั่นต้มกับน้ำ กรองดื่มเฉพาะน้ำ วันละ 3 ครั้ง ครั้งละ 1 ถ้วยชา(75 มิลลิลิตร) ดื่มก่อนอาหาร
2. เป็นยาระบายอ่อนๆ การกินเนื้อมะละกอสุก ช่วยเป็นยาระบายอ่อนๆ เพราะไปช่วยเพิ่มจำนวนกากไยอาหาร ดังนั้นเนื้อผลสุกมะละกอจะช่วยระบายอ่อนๆ แก้ท้องผูก
สรรพคุณ มะละกอ :
ผลสุก - เป็นมีสรรพคุณป้องกัน หรือแก้โรคเลือดออกตามไรฟัน เป็นยาระบาย
ยางจากผลดิบ - เป็นยาช่วยย่อยโปรตีน ฆ่าพยาธิได้
รากมะละกอ - ขับปัสสาวะ แก้ขัดเบา
ใช้เป็นยาระบาย :ใช้ผลสุกไม่จำกัดจำนวน รับประทานเป็นผลไม้
เป็นยาช่วยย่อย: 1. ใช้เนื้อมะละกอดิบไม่จำกัด ประกอบอาหาร เช่น ส้มตำ แกง เป้นผักจิ้ม 2. ยางจากผลดิบ หรือจากก้านใบ ใช้ 10-15 กรัม หรือถ้าเป็นตัวยาช่วยย่อย เพราะในยางมะละกอมีสารที่เรียกว่า Papain

ไฟล์:Koeh-029.jpg

วันอังคารที่ 25 ตุลาคม พ.ศ. 2554

กล้วย  

กล้วย เป็นพรรณไม้ล้มลุกในสกุล Musa มีหลายชนิด เช่น กล้วยน้ำว้า กล้วยน้ำไท กล้วยหอมทอง กล้วยหอมเขียว กล้วยไข่ กล้วยตานี กล้วยหักมุก กล้วยเล็บมือนาง กล้วยนิ้วมือนาง กล้วยส้ม กล้วยนาค กล้วยหิน กล้วยงาช้าง ฯลฯ บางชนิดก็ออกหน่อแต่ว่าบางชนิดก็ไม่ออกหน่อ ใบแบนยาวใหญ่ ก้านใบตอนล่างเป็นกาบยาวหุ้มห่อซ้อนกันเป็นลำต้น ออกดอกที่ปลายลำต้นเป็น ปลี และมักยาวเป็นงวง มีลูกเป็นหวี ๆ รวมเรียกว่า เครือ พืชบางชนิดมีลำต้นคล้ายปาล์ม ออกใบเรียงกันเป็นแถวทำนองพัดคลี่ คล้ายใบกล้วย เช่น กล้วยพัด (Ravenala madagascariensis) ทว่าความจริงแล้วเป็นพืชในสกุลอื่น ที่มิใช่ทั้งปาล์มและกล้วย    ต้นกล้วย หรือหยวกกล้วย หรือกาบกล้วย   ใช้ประกอบอาหารได้หลายอย่าง  เช่น  แกงกะทิ แกงเลียง แกงป่า ผัดเผ็ด ห่อหมก เป็นต้น
      ก้านกล้วย เมื่อ ปลอกเปลือกนอกที่แข็งและเหนียวออกแล้ว จะได้ไส้ในที่อ่อนนุ่มเป็นรูพรุนดั่งฟองน้ำ  มีรสหวานนิด ๆ นำไปหั่นละเอียดใส่เป็นส่วนผสมของอาหารจำพวก ลาบ ลู่ ต่าง ๆ เพื่อเพิ่มปริมาณ และรสชาติ ได้เป็นอย่างดี
     ใบกล้วย หมายถึง  ใบอ่อน ส่วนที่ฝังอยู่ใจกลางลำต้นกินสด ๆ หรืออาจจะลวกให้นิ่ม จิ้มน้ำพริกกิน กับข้าวอร่อยดีนัก
     ปลีกล้วย   หลาย ท้องถิ่นนำมาจิ้มน้ำพริกกินกับข้าว ทั้งในรูปผักสด และผักต้ม  บางถิ่นนำมาหั่น ให้ฝอย เป็นผักเคียงกินกับขนมจีน หรือหมี่กะทิ ในขณะที่หลายท้องถิ่นนำไปประกอบอาหาร ประเภทยำ และประเภทต่าง ๆ
     ผลกล้วยดิบ   เรา นำกล้วยดิบไปประกอบอาหาร ทั้งอาหารคาว และหวาน อาหารคาว เช่น กล้วยลูกอ่อนต้ม เป็นผักจิ้มน้ำพริก หรือหั่นเป็นแว่นบาง ๆ ดองเป็นผักจิ้ม ทำส้มตำกล้วย ทำแกงเผ็ด เครื่องเคียงแหนมเนือง เป็นต้น      อาหารหวาน  เช่น กล้วยลูกโตพอสมควรนำมาต้มแล้วปลอกเปลือก หั่นเป็นชิ้นโรยมะพร้าวขูด และน้ำตาล หรือนำมาฝานบาง ๆ ทำเป็นกล้วยฉาบ เป็นต้น แต่ถ้าเป็นกล้วยที่ห่ามแล้วก็นำไปทำกล้วยปิ้ง กล้วยเผา กล้วยทับ ฯลฯ
      ผลกล้วยสุก   นอก จากเรากินกล้วยสุกในฐานะผลไม้อย่างดีชนิดหนึ่งแล้วเรายังนำกล้วยสุก ไปประกอบ หรือทำเป็นอาหารหวานชนิดต่าง ๆ ได้สารพัด เช่น กล้วยบวชชี กล้วยเชื่อม กล้วยแขก ข้าวเม่าทอด ข้าวต้มผัด กล้วยกวน ขนมกล้วย เป็นต้น นอกจากนี้อาจทำเป็นกล้วยคืนรูปโดยนำกล้วยสุก ไปลวกน้ำร้อน แล้วนำไปตากให้แห้ง เก็บไว้นาน ๆ เมื่อต้องการใช้ก็นำมาลวกน้ำร้อนอีกครั้งจะคืนสภาพ เหมือนกล้วยสุก ทั่วไป นำไปประกอบอาหารได้ตามวัตถุประสงค์

การทำเครื่องจักสานจากต้นกล้วย

เนื่องจากต้นกล้วยเล็บมือนางในพื้นที่มีมากและขาดการนำมาใช้ประโยชน์ป้าแดงจึงทดลองนำเอาต้นกล้วยมาทำการจักสานเป็นเครื่องใช้ต่างๆปรากฏว่าได้ผลดีจึงทดลองทำออกจำหน่าย ซึ่งเป็นที่ต้องการของลูกค้า การทำเครื่องจักสานจากต้นกล้วยทำง่ายๆ ดังนี้
การทำเครื่องจักสานจากต้นกล้วย
 เครื่องจักสานจากต้นกล้วย
วัสดุ/อุปกรณ์
• ต้นกล้วยเล็บมือนาง
• มีด
• เครื่องรีด
• ราวสำหรับตากต้นกล้วย
• แบบรูปทรงของที่จะจักสาน
วิธีการ
• ทำการคัดเลือกต้นกล้วยที่จะนำมาจักสานโดยให้เลือกต้นทีตัดผลแล้ว มีลำต้นสูง ใหญ่นำมาทำเป็นเชือกกล้วยก่อนที่จะนำมาจักสาน
• จากนั้นนำมาลอกเอาเฉพาะกาบที่มีลักษณะสีขาว มาทำการฝานเป็นเส้นตามแนวยาวให้มีความหนาประมาณ ½ นิ้ว
• จากนั้นนำไปตากให้แห้งสนิท ซึ่งจะใช้เวลาประมาณ 2-3 วันก็ใช้ได้แล้ว
• เมื่อเชือกกล้วยแห้งสนิทแล้วก็นำมารีดด้วยเครื่องรีดให้มีความนุ่มเพื่อสะดวกในการจักสาน
• จากนั้นให้ทำการลอกเชือกกล้วยให้เป็นสองเส้นและขูดนำเนื้อเยื่อข้างในออกให้หมด
• นำมารีดอีกครั้ง แล้วนำไปจักสานขึ้นรูปตามความต้องการ เช่นกระเป๋า หมวก ตะกร้าฯลฯ
ข้อดีของเครื่องจักสานจากเชือกกล้วย
• มีความคงทน สวยงาม
• เป็นการให้วัสดุที่มีอยู่ในท้องถิ่นให้เกิดประโยชน์
อันดับZingiberales
วงศ์Musaceae
การขยายพันธุ์กล้วย
กล้วยเป็นพืชที่ขยายพันธุ์ง่าย  สะดวก  และไม่มีขั้นตอนยุ่งยากซับซ้อนแต่อย่างใด
เดิมทีเดียวการขยายพันธุ์กล้วยทำได้  2  วิธี  ได้แก่
1.การขยายพันธุ์โดยเมล็ด
2.การขยายพันธุ์โดยหน่อ
1.การขยายพันธุ์โดยเมล็ด
เป็นวิธีธรรมชาติดั้งเดิมของการขยายพันธุ์กล้วยที่มีเมล็ดมากอย่างกล้วยตานีและกล้วยน้ำว้าบางพันธุ์
การขยายพันธุ์โดยเมล็ดนี้  แต่เดิมชาวสวนจะนำเมล็ดแก่จากผลกล้วยที่แก่เต็มที่มาเพาะ  แต่เนื่องจากเมล็ดกล้วยมีเปลือกที่หนามากทำให้การเพาะเมล็ดต้องใช้เวลานานตั้งแต่  1-4  เดือน  จึงจะงอกให้เห็นต้นอ่อน  ทำให้การขยายพันธุ์โดยการเพาะเมล็ดค่อยๆ  เสื่อมความนิยมลงไปจนเกือบไม่มีชาวสวนคนใดใช้วิธีขยายพันธุ์กล้วยโดยวิธีการเพาะเมล็ดอีกแล้ว  นอกจากนี้นักวิชาการที่เพาะเมล็ดเพื่อการศึกษาค้นคว้า
2.การขยายพันธุ์โดยใช้หน่อ
ใช้หน่ออ่อน  (Peepers)หน่ออ่อน  ในนี้หมายถึง  หน่อที่มีอายุน้อยและมีขนาดเล็ก  ลักษณะของหน่อ  ใบเป็นใบเกล็ด  อยู่เหนือผิวดิน  (ปัจจุบันวิทยาการเจริญก้าวหน้า  พบว่า  หน่ออ่อนไม่เหมาะสำหรับการขยายพันธุ์)
ใช้หน่อใบดาบ  (Sword  Suckers)หน่อใบดาบ  หมายถึง  หน่อกล้วยที่เกิดจากตาของเหง้าหน่อใบนี้ลักษณะใบจะเรียวเล็กและยาวเหมือนมีดดาบ  (บางคนเรียกหน่อใบแคระ)  หน่อมีความสูงประมาณ  75-80  เซนติเมตร  มีเหง้าติดอยู่เหมาะสำหรับการขยายพันธุ์  เพราะจะเจริญเติบโตแข็งแรงและให้ผลผลิตดี
ใช้หน่อแก่  (Median Suckers)
หน่อแก่  หมายถึง  หน่อที่เจริญเติบโตมาจากหน่อใบดาบใบจะแผ่กว้าง
วิธีดูว่าหน่อกล้วยใดเป็นหน่อแกให้นับอายุ  ในกรณีนี้หน่อแก่  หมายถึง  หน่อที่มีอายุประมาณ  5-8  เดือน
ใช้หน่อใบกว้าง  (Water Suckers)
หน่อใบกว้าง  หมายถึง  หน่อที่เกิดจากตาของเหง้าแก่หรือจากเหง้าที่ไม่สมบูรณ์  ใบจะแผ่กว้างขณะที่หน่อยังมีอายุน้อย  ซึ่งหน่อใบกว้างจะเกิดก็ต่อเมื่อต้นแม่ออกเครือและตัดเครือแล้ว  หน่อชนิดนี้จริงๆแล้วไม่เหมาะที่จะนำไปขยายพันธุ์  เพราะจะให้ผลขนาดเล็กลง
ส่วนที่ใช้
ยางกล้วยจากใบ ผลดิบ ผลสุก(ทุกประเภท) ผลดิบ หัวปลี
สรรพคุณ
ยางกล้วยจากใบ ใช้ห้ามเลือด โดยใช้ยางกล้วยจากใบหยอดลงที่บาดแผล ผลดิบ แก้โรคท้องเสีย ยาฝาดสมาน แผลในกระเพาะอาหารและอาหารไม่ย่อย โดยใช้กล้วยดิบทั้งลูก บดกับน้ำให้ละเอียดและใส่น้ำตาล รับประทาน(หรือไม่อาจใช้กล้วยดิบตากแห้งบดเป็นผงเก็บไว้ใช้ในยามที่จำเป็น อาจใช้ผสมกับน้ำผึ้งหรือน้ำอุ่นกิน) ผลสุก ใช้เป็นอาหาร เป็นยาระบายสำหรับผู้ที่เป็นโรคริดสีดวงทวารหรือผู้ที่อุจจาระแข็ง วิธีใช้โดยใช้กล้วยสุก 2 ผล ปิ้งกินทั้งเปลือก หัวปลี แก้โรคเกี่ยวกับลำไส้ แก้โรคโลหิตจาง และลดน้ำตาลในเลือด


กล้วยปิ้ง


                    เรื่องกล้วยๆที่ไม่กล้วยเหมือนชื่อ วันนี้ไปเจอธุรกิจตัวหนึ่งน่าสนใจนั่นคือ กล้วยปิ้ง ฃอย่าเพิ่งดูถูกกล้วยปิ้งนะครับ กล้วยปิ้งอาหารธรรมดาที่ใครก็ต้องเคยกินรสชาติอร่อยเหมาะสำหรับเป็นของกิน เล่นยามว่างหรือจะกินจริงก็อร่อยไม่แพ้กัน วันนี้ผ่านไปเจอกล้วยปิ้ง ก็เลยนำข้อมูลมาให้คุณๆทั้งหลายได้ลองศึกษากันดู อาจจะสนใจทำเป็นอาชีพเสริมได้หลังเลิกงาน ง่ายสบายๆไม่ยุ่งยากมาดูวิธีทำกันเลย


ส่วนประกอบ

กล้วยน้ำว้าแก่กึ่งสุกกึ่งดิบ


ส่วนประกอบน้ำจิ้ม

1. กะทิ

2. น้ำตาลปิ๊บ

3. น้ำตาลทราย

4. โอวัลติน นิดหน่อย

5. เกลือ

6. นมสด


วิธีทำ

1. นำส่วนผสมน้ำจิ้ม ไปตั้งไฟเคี่ยวให้เหนียว โดยใส่ส่วนผสมทั้งหมดลงไป เคี่ยวจนเหนียวพักไว้ให้เย็น

2. หั่นกล้วยตามขวางเป็นชิ้นพอคำ เสียบไม้

3. นำมาย่างไฟให้เหลืองอ่อนๆ แล้วนำไปทุบด้วยไม้นวดแป้งให้แบน

4. แล้วนำไปราดน้ำจิ้มที่เตรียมไว้

สูตรที่ 2.

ส่วนผสมกล้วยน้ำว้าแก่ๆ ไม่ดิบไม่สุก

ส่วนประกอบน้ำจิ้ม

1. น้ำตาลมะพร้าว 2 ฝา

2. กะทิ 1 ถ้วย

3. เนยเค็ม 4 ช้อนโต๊ะ

4. เกลือนิดหน่อย


วิธีทำ

1. นำกะทิ กับน้ำตาลมาต้มให้เดือดพอน้ำตาลละลายก็เติมเนยเกลือ เคี่ยวให้ข้นเหนียวพักไว้ให้เย็น

2. หั่นกล้วยเป็นแว่นๆ ขนาดพอดีคำ และก็เสียบไม้เตรียมไว้

3. นำมาย่างไฟให้เหลืองอ่อนๆ แล้วนำไปทุบด้วยไม้นวดแป้งให้แบน

4. พอกล้วยสุก ก็นำไม้ที่นวดแป้งมาทับให้แบนแบน ราดน้ำเชื่อมเป็นอันใช้ได้

วันอังคารที่ 23 สิงหาคม พ.ศ. 2554

ปุ๋ยพืชสด

ปุ๋ยพืชสด

การเพิ่มอินทรียวัตถุให้แก่ดิน ทำได้โดยการใช้ปุ๋ยอินทรีย์ ซึ่งมีหลายชนิดด้วยกันเช่น การใช้ปุ๋ยคอก ปุ๋ยหมัก เป็นต้น แต่มีข้อจำกัด คือ ต้องใช้ในปริมาณมากต่อไร่ ไม่สะดวกแก่การขนย้ายปุ๋ย และหาได้ไม่เพียงพอ ดังนั้นวิธีการเพิ่ม อินทรียวัตถุ ให้แก่ดินอีกวิธีหนึ่ง ที่มีวิธีการปฏิบัติง่ายก็คือ การใช้ปุ๋ย พืชสด
ปุ๋ยพืชสด คือ ปุ๋ยอินทรีย์ชนิดหนึ่ง ที่ได้จากการไถกลบ ต้น ใบ และส่วนต่างๆของพืช โดยเฉพาะพืชตระกูลถั่ว ในระยะช่วงออกดอก ซึ่งเป็นช่วงที่มีธาตุอาหารสูงสุด แล้วปล่อยทิ้งไว้ให้เน่าเปื่อยผุพัง ย่อยสลายเป็นอาหารแก่พืชที่จะปลูกตามมา พืชที่ใช้ปลูกเป็นปุ๋ยพืชสด ได้แก่ โสนอินเดีย ปอเทือง อัญชัน ไมยราพไร้หนาม พืชตระกูลถั่วต่างๆ เป็นต้น
พืชที่ปลูกเป็นปุ๋ยพืชสด สิ่งที่เกษตรกรคุ้นเคยมากในการเพิ่มผลผลิตพืชก็คือ การใช้ปุ๋ยเคมี แต่ การใช้ปุ๋ยเคมีเพียง อย่างเดียว โดยไม่มีการเพิ่มอินทรียวัตถุ ให้แก่ดิน จะทำให้ดินสูญเสียความอุดมสมบูรณ์ไปอย่างรวดเร็ว ดินจะแข็งไม่ร่วนซุย ดูดซับน้ำ และแร่ธาตุอาหารพืช ได้น้อยลงทำให้การปลูกพืชไม่ได้ผลหรือได้ผลไม่ดีเท่าที่ควร

ประโยชน์ของปุ๋ยพืชสด

  1. เพิ่มปริมาณอินทรียวัตถุในดิน
  2. เพิ่มธาตุไนโตรเจนซึ่งเป็นธาตุอาหารหลักให้แก่พืช
  3. กรดที่เกิดจากการผุพังของพืชสด ช่วยละลายธาตุอาหารในดินให้แก่พืชได้มากยิ่งขึ้น
  4. บำรุงและรักษาความอุดมสมบูรณ์ของดิน
  5. รักษาความชุ่มชื้นในดินและให้ดินอุ้มน้ำได้ดีขึ้น
  6. ทำให้ดินร่วนซุย สะดวกในการเตรียมดินและไถพรวน
  7. ช่วยในการปราบวัชพืชบางชนิดได้เป็นอย่างดี
  8. ลดปริมาณการใช้ปุ๋ยเคมีลงได้บางส่วน
  9. ลดอัตราการสูญเสียดินอันเกิดจากการชะล้าง
  10. เพิ่มผลผลิตของพืชให้สูงขึ้น

ลักษณะทั่วไปของพืชปุ๋ยสด

  1. ปลูกง่าย เจริญเติบโตเร็ว ระบบรากแข็งแรง ออกดอกในระยะเวลาอันสั้น คือประมาณ 30 – 60 วัน
  2. สามารถให้น้ำหนักพืชสดสูง ตั้งแต่ 2,000 กิโลกรัมต่อไร่ ขึ้นไป
  3. ทนแล้งและทนต่อสภาพแวดล้อมต่างๆได้ดี สามารถปลูกได้ทุกฤดูกาล
  4. มีความต้านทานต่อโรคและแมลง
  5. สามารถผลิตเมล็ดพันธุ์ได้มาก และขยายพันธุ์ได้รวดเร็ว เพื่อให้ทันและเพียงพอต่อความต้องการ เมล็ดงอกง่ายและมีเปอร์เซนต์ความงอกสูง
  6. ทำการเก็บเกี่ยว ตัดสับและไถกลบได้ง่าย ไม่ควรเป็นเถาเลื้อยมากเพราะจะทำให้ไม่สะดวกแก่การไถกลบ
  7. ลำต้นอ่อน เมื่อไถกลบแล้วเน่าเปื่อยผุพังได้เร็วและมีธาตุอาหารพืชสูง

การปลูกพืชปุ๋ยสด

  1. ลักษณะของดิน ก่อนปลูกควรปรับปรุงสภาพของดินให้เหมาะสม เช่นถ้าเป็นดินเปรี้ยวควรใส่ปูนลงไปก่อน จะช่วยให้พืชสดเจริญเติบโตและให้น้ำหนักพืชสดสูงด้วย
  2. เวลาและฤดูกาลที่ปลูก เวลาที่เหมาะสมที่สุดคือ ปลูกช่วงต้นฤดูฝน หรือปลูกหลังจากเก็บเกี่ยวพืช ซึ่งความชื้นในดินยังคงมีอยู่ หรือปลูกก่อนการปลูกพืชหลัก ประมาณ 3 เดือน
  3. เมล็ดพันธุ์พืชปุ๋ยสด ที่ใช้ปลูกเพื่อไถกลบในพื้นที่ 1 ไร่ ควรใช้อัตราเมล็ดดังนี้ ปอเทือง 5 กก., โสนอินเดีย 5 กก., โสนคางคก 5 กก., โสนไต้หวัน 5 กก., ถั่วพร้า 5 กก., ถั่วเขียว 5 กก., ถั่วเหลือง 8 กก., ถั่วพุ่ม 8 กก., ถั่วนา 8 กก., ถั่วลาย 2 กก., ถั่วเสี้ยนป่า 2 กก., ไมยราพไร้หนาม 2 กก., ถั่วเว็ลเว็ท 10 กก., คาโลโปโกเนียม 2 กก., อัญชัน 3 กก.,


วิธีการใช้พืชปุ๋ยสด

วิธีการใช้พืชปุ๋ยสด สามารถแบ่งการใช้ได้ 3 วิธี คือ
  1. ปลูกพืชสด ในพื้นที่แปลงใหญ่ แล้วทำการตัดสับและไถกลบลงไปในพื้นที่นั้นเลย
  2. ปลูกพืชสดแซมในระหว่างร่องพืชหลักที่ทำการปลูก โดยปลูกพืชสดหลังจากพืชหลักเจริญเติบโตเต็มที่แล้ว
  3. ปลูกพืชสดในพื้นที่รกร้างว่างเปล่า แล้วตัดสับเอาส่วนของพืชสดนำมาใส่ในแปลงที่จะปลูกพืชหลักแล้วไถกลบลงไปในดิน

การตัดสับและไถกลบพืชสด

การตัดสับและการไถกลบพืชสดนั้น จำเป็นต้องพิจารณาถึงอายุของพืชสดเป็นสำคัญ ระยะเวลาที่เหมาะสม ในการตัดสับ และไถกลบ ควรทำขณะที่ต้นถั่ว เริ่มออกดอกไปจนถึงระยะดอกบานเต็มที่ เนื่องจากในระยะนี้ต้นถั่วเจริญงอกงามสูงสุด เมื่อไถกลบแล้วจะทำให้ปริมาณอินทรียวัตถุและธาตุไนโตรเจนสะสมอยู่ในดินสูง ด้วย